การประมวลผลข้อมูล GNSS อัตโนมัติเพื่อการหาค่าปริมาณไอน้ำในอากาศสำหรับพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑล

Authors

  • อำนาจ สมภาร สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400 *chalermchon.s@chula.ac.th
  • พีรญา ตันติอนุภาพ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
  • พงษ์ศักดิ์ จินดาศรี สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
  • สุรเจตส์ บุญญาอรุณเนตร สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
  • ชัยพร กิจประชา ภาควิชาวิศวกรรมสำรวจ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
  • ชัยยุทธ เจริญผล ภาควิชาวิศวกรรมสำรวจ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
  • เฉลิมชนม์ สถิระพจน์ ภาควิชาวิศวกรรมสำรวจ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

Abstract

การจัดการน้ำที่มีประสิทธิภาพเป็นสิ่งที่สำคัญมากต่อประเทศเกษตรกรรมอย่างประเทศไทย ดังนั้นแบบจำลองการพยากรณ์ฝนที่แม่นยำถูกต้องเป็นสิ่งที่ช่วยในการวางแผนการใช้น้ำและกักเก็บน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ค่าปริมาณไอน้ำในอากาศ (Precipitable Water Vapor, PWV) เป็นตัวแปรหลักในแบบจำลองการคาดการณ์ฝนและยังใช้ศึกษาการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศในแต่ละฤดูกาล โดยทั่วไปค่าปริมาณไอน้ำในอากาศสามารถวัดได้โดยตรงจากเครื่องไมโครเวฟเรดิโอมิเตอร์ (Microwave radiometer) แต่ค่าใช้จ่ายของเครื่องมีราคาที่สูงมากที่จะติดตั้งในทุกๆ พื้นที่ ทางเลือกอีกทางสำหรับการหาค่าปริมาณไอน้ำในอากาศคือการแปลงค่าคลาดเคลื่อนชั้นบรรยากาศโทรโพสเฟียร์ที่อยู่ในข้อมูลดาวเทียม GNSS ให้เป็นค่าปริมาณไอน้ำในอากาศ จากการศึกษาที่ผ่านมาแสดงให้เห็นถึงค่าปริมาณไอน้ำในอากาศที่ได้จากข้อมูล GNSS มีความถูกต้องใกล้เคียงกับค่าปริมาณไอน้ำในอากาศที่ได้จากเครื่องไมโครเวฟเรดิโอมิเตอร์ จากการติดตั้งสถานีฐานทำงานต่อเนื่อง (Continuously Operating Reference Stations: CORS) ที่ผ่านมาของสถาบันสารสนเทศน้ำและการเกษตรในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่ได้ดำเนินการร่วม 3 หน่วยงาน ได้แก่ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติและสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร ทำให้สามารถหาค่าปริมาณไอน้ำในอากาศได้อย่างแม่นยำในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลโดยใช้โปรแกรมเชิงวิจัย Bernese GNSS จากสถานี CORS เหล่านี้ ในงานวิจัยนี้มุ่งที่จะทำการทดสอบการประมวลผลอัตโนมัติสำหรับการหาค่าปริมาณไอน้ำในอากาศคลอบคลุมพื้นที่บริเวณกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ระบบที่เสนอนี้สามารถใช้เป็นทางเลือกสำหรับการหาค่าปริมาณไอน้ำในอากาศที่แม่นยำสำหรับงานทางด้านอุตุนิยมวิทยาในอนาคต

Downloads