การวิเคราะห์โครงสร้างการเชื่อมต้านทานแบบจุดต่อสมบัติทางกลของรอยต่อเกย

Authors

  • เพียงขวัญ กันหาภัย ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธนบุรี กรุงเทพมหานคร 10160
  • นันทพันธ์ กนกศิริรุจิษยา ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธนบุรี กรุงเทพมหานคร 10160

Abstract

การเชื่อมต้านทานแบบจุดบนรอยต่อเกย ระหว่างอะลูมิเนียมและทองแดงเพื่อความรวดเร็ว และไม่ทำให้ชิ้นงานเสียรูปร่างเวลาเชื่อม ด้วยเหตุนี้ในการวิเคราะห์โครงสร้างตัวแปรการเชื่อมต้านทานแบบจุดต่อสมบัติทางกลของรอยต่อเกยอะลูมิเนียม AA 5052 และทองแดง C 11000 จึงเป็นอีกแนวทางเลือกหนึ่งที่ดีเพื่อนำผลการทดลองมาใช้ในอนาคต ในการทดลองการเชื่อมต้านทานแบบจุดของวัสดุสองชนิด คือ อะลูมิเนียม AA 5052 ความหนา 1 มิลลิเมตร ความกว้าง 30 มิลลิเมตร ความยาว 100 มิลลิเมตร และทองแดง C 11000 ความหนา 1 มิลลิเมตร ความกว้าง 30 มิลลิเมตร ความยาว 100 มิลลิเมตร ระหว่างเวลากดที่ 10 20 และ 30 Cycles (รอบ/วินาที) กระแสเชื่อม 32 33 34 และ 35 kA และเวลากดแช่ที่ 40 60 80 และ 99 Cycles โดยวางอะลูมิเนียมไว้ด้านบนทองแดงการเชื่อมความต้านทานแบบจุดบนรอยต่อเกยอะลูมิเนียม AA 5052 และทองแดง C 11000 รอยเชื่อมมีความแข็งแรงมากจะส่งผลต่อการพังทลายที่โลหะอะลูมิเนียม และการตรวจสอบบริเวณรอยอินเทอร์เฟสด้วยวิธีการทางจุลภาคและมหภาคพบว่า เวลากด 30 Cycles กระแสเชื่อม 33 kA และเวลากดแช่ 80 Cycles มีระยะความกว้างเฉลี่ยบริเวณรอยอินเทอร์เฟสมากที่สุดคือ 1.507 มิลลิเมตร ทำให้เกิดการยึดติดกันดีระหว่างวัสดุทั้งสองชนิด ทำให้รอยเชื่อมมีความแข็งแรง

Downloads