https://wjst.wu.ac.th/index.php/stssp/issue/feed Science, Technology, and Social Sciences Procedia 2024-04-29T16:10:25+07:00 Open Journal Systems https://wjst.wu.ac.th/index.php/stssp/article/view/25813 การประเมินผลสัมฤทธิ์ของสื่อ Infographic ของกระบวนการปรับแผนปฏิบัติการประจำปี คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล 2024-04-11T11:19:07+07:00 กิตติยา พลอยวัฒนาวงศ์ kittiya.plo@mahidol.ac.th ดวงหทัย แพงจิกรี daunghathai.pan@mahidol.ac.th <p>การออกแบบ Infographic เพื่อใช้สื่อสารกระบวนการปรับแผนปฏิบัติการประจำปีของคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) เป็นการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย (R2R: Routine to Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อประเมินผลสัมฤทธิ์ของสื่อ Infographic แผนภาพขั้นตอนกระบวนการปรับแผนปฏิบัติการ กลางปีงบประมาณ 2) เพื่อวัดผลความเข้าใจของ สื่อ Infographic แผนภาพขั้นตอนกระบวนการปรับแผนปฏิบัติการ กลางปีงบประมาณ และ 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของสื่อ Infographic แผนภาพขั้นตอนกระบวนการปรับแผนปฏิบัติการ กลางปีงบประมาณ ในการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัยครั้งนี้ ผู้ศึกษาจึงเลือกใช้ Infographic ซึ่งมีลักษณะเด่นในการใช้รูปภาพสื่อความหมายแทนข้อความได้กระชับ เข้าใจง่าย น่าสนใจ มาเป็นเครื่องมือในการออกแบบกระบวนการปรับแผนปฏิบัติการประจำปี ของคณะฯ ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์-พฤษภาคม 2566 โดยมีขั้นตอน 1) รวบรวมวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้งาน Flowchart ขั้นตอนกระบวนการปรับแผนปฏิบัติการ 2) เลือกเครื่องมือ Infographic และออกแบบแผนภาพขั้นตอนกระบวนการฯ 3) สุ่มทดสอบการใช้งานแผนภาพขั้นตอนกระบวนการฯ จากกลุ่มเป้าหมาย หัวหน้างาน 3 คนจากทั้งหมด 14 คน นำผลการทดสอบเบื้องต้นมาปรับแก้ 4) ปรับแก้รายละเอียดข้อมูลและภาพขั้นตอน และ 5) เผยแพร่และดำเนินการใช้งานแผนภาพขั้นตอนกระบวนการฯ ในกิจกรรมกระบวนการปรับแผนปฏิบัติการประจำปี และนำไปวัดระดับความเข้าใจกับกลุ่มเป้าหมาย หัวหน้างาน 15 ฝ่าย จำนวน 14 คน ตามขั้นตอนที่ 6) สำรวจและประเมินผลการใช้งานแผนภาพขั้นตอนกระบวนการฯ ในด้านขั้นตอน ข้อมูล ความเข้าใจ ระยะเวลา ความเหมาะสม และความพึงพอใจภาพรวม ผลการศึกษาพบว่า คะแนนความเข้าใจของแผนภาพขั้นตอนการปรับแผนปฏิบัติการด้วย Infographic (คำถามข้อ 1 ถึง 5) เท่ากับ 4.63 คะแนน และระดับคะแนนความพึงพอใจในภาพรวมการใช้งานแผนภาพฯ (คำถามข้อ 6) เท่ากับ 4.75 คะแนน</p> 2024-04-10T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 https://wjst.wu.ac.th/index.php/stssp/article/view/25817 การศึกษาเปรียบเทียบการสร้างแบบจำลองกับการฝึกซ้อมอพยพจริง ในพื้นที่อาคารสูงสำนักงาน 2024-04-19T09:58:05+07:00 อรวรรณ บัวแย้ม orawan.buay@ku.th ธงไชย โรหิตะดิษฐ ศรีนพคุณ orawan.buay@ku.th <p>บทความนี้จำลองการอพยพหนีไฟโดยใช้โปรแกรม Pathfinder เปรียบเทียบกับการซ้อมอพยพหนีไฟจริงในปี 2566 ในพื้นที่อาคารสำนักงาน ความสูง 22 ชั้น ขนาดพื้นที่ทั้งหมด 36,700 ตารางเมตร พื้นที่ใช้งาน 6.66 ตารางเมตรต่อคน เส้นทางการหนีไฟ 2 ทาง จำนวนพนักงานทั้งหมดประมาณ 3,000 คน ในการจำลองสถาณการณ์กำหนดจำนวนคนทั้งหมด 901 คนและเปรียบเทียบระยะเวลาในการอพยพคนออกนอกอาคาร กรณีไม่กำหนดผู้นำอพยพและเส้นทางการอพยพกับกรณีกำหนดผู้นำอพยพและเส้นทางการอพยพโดยการแบ่งจำนวนคนในพื้นที่ 70 % ให้ใช้บันไดหนีไฟที่ 1 อีก 30 % ให้ใช้บันไดหนีไฟที่ 2 พบว่าเมื่อเทียบกับรายงานการฝึกซ้อมอพยพจริงโดยไม่มีการกำหนดผู้นำอพยพและเส้นทางการอพยพ พบปัญหาเดียวกันคือ ผู้อพยพบางรายไม่ทราบเส้นทางการหนีไฟ บันไดหนีไฟที่ 2 มีความแออัดสูงกว่าบันไดหนีไฟที่ 1 เนื่องจากบันไดหนีไฟที่ 2 มีขนาดเล็กกว่าบันไดหนีไฟที่ 1 แต่ยังสามารถอพยพคนออกจากอาคารได้โดยใช้เวลาไม่เกินตามที่กฎหมายกำหนด และกรณีกำหนดผู้นำอพยพและเส้นทางการอพยพใช้เวลาในการอพยพคนออกนอกอาคารน้อยกว่าถึง 10 นาที 15 วินาที เมื่อเทียบกับการไม่กำหนดเส้นทางการอพยพหนีไฟเนื่องจากไม่พบปริมาณความแออัดในบันไดหนีไฟที่ 1 และ 2 การใช้โปรแกรม Pathfinder ในการจำลองการอพยพหนีไฟสามารถนำผลการจำลองมาปรับใช้ในการจัดทำแผนอพยพคนภายในอาคารกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน</p> 2024-04-19T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 https://wjst.wu.ac.th/index.php/stssp/article/view/25819 ผลของการฝึกแอโรบิกแบบหนักสลับเบาต่อไขมันและพังผืดในตับในผู้ที่มีภาวะน้ำหนักตัวเกินและภาวะอ้วนร่วมกับโรคไขมันพอกตับชนิดที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ 2024-04-19T10:34:39+07:00 ปียานิฐ ธนวนิชนาม 6270014030@student.chula.ac.th มณีรัตน์ ชยานุภัทร์กุล 6270014030@student.chula.ac.th ณัฐวรรณ สงวนวงษ์ 6270014030@student.chula.ac.th ธนัท ทับเที่ยง 6270014030@student.chula.ac.th วีรภัทร โฆษิตานุฤทธิ์ 6270014030@student.chula.ac.th จักรพรรณพงษ์ ธีรปณิธาน 6270014030@student.chula.ac.th นิตยา ศิริแสง 6270014030@student.chula.ac.th อรอนงค์ กุละพัฒน์ 6270014030@student.chula.ac.th <p>ในปัจจุบันโรคที่เกี่ยวข้องทางเมทาบอลิกมีอัตราเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะโรคไขมันพอกตับชนิดที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ ซึ่งยังไม่มียามาตรฐานที่ใช้ในการรักษา จึงมักแนะนำให้ผู้ที่ภาวะดังกล่าวปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยเน้นไปที่การออกกำลังกาย และการควบคุมการรับประทานอาหาร&nbsp; การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลของการฝึกแอโรบิกแบบหนักสลับเบาต่อการลดลงของไขมันและพังผืดในตับในผู้ที่มีภาวะน้ำหนักตัวเกินและภาวะอ้วนร่วมกับโรคไขมันพอกตับชนิดที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ ในอาสาสมัคร 16 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 8 คน และกลุ่มควบคุม 8 คน โดยทั้ง 2 กลุ่มมีข้อมูลพื้นฐานไม่แตกต่างกัน กลุ่มทดลองฝึกออกกำลังกายแบบหนักสลับเบาด้วยการปั่นจักรยาน 3 วันต่อสัปดาห์ ระยะเวลา 23 นาทีต่อวัน และทั้ง 2 กลุ่มคุมอาหารเหมือนกันโดยมีนักโภชนาการคอยควบคุม วิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างกลุ่มโดยใช้สถิติ independent t-test ผลการศึกษาพบว่า การออกกำลังกายด้วยการปั่นจักรยานแบบหนักสลับเบาในระยะเวลา 3 เดือน ไม่ส่งผลต่อการลดลงของไขมันพอกตับและพังผืดในตับ และไม่มีความแตกต่างจากกลุ่มควบคุม&nbsp; ทั้งนี้กลุ่มทดลองมีสมรรถภาพการทำงานของร่างกายที่ดีขึ้น ทั้งอัตราการใช้ออกซิเจนสูงสุดของร่างกาย ความหนักสูงสุดของการออกกำลังกาย และอัตราการเผาผลาญขณะพักที่มากขึ้นเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม</p> 2024-04-19T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 https://wjst.wu.ac.th/index.php/stssp/article/view/25828 การพัฒนาระบบเชื่อมโยงข้อมูลการลงทะเบียนของนักศึกษาไปยังรายวิชาในระบบบริหารจัดการการเรียนการสอนในระบบออนไลน์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 2024-04-19T14:02:03+07:00 จุฬาพร พันธ์กำเหนิด chulaporn.pu@mail.wu.ac.th <p>มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มีการพัฒนาระบบเชื่อมโยงข้อมูลการลงทะเบียนของนักศึกษาไปยังรายวิชาในระบบบริหารจัดการการเรียนการสอนในระบบออนไลน์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (WU e-Learning) จึงจำเป็นต้องนำข้อมูลการลงทะเบียนของนักศึกษาเข้ารายวิชาในระบบ&nbsp; WU e-Learning เพื่อให้ได้ข้อมูลนักศึกษาจากระบบลงทะเบียน การวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาการนำข้อมูลนักศึกษาเข้ารายวิชา 2) พัฒนาระบบเชื่อมโยงข้อมูลการลงทะเบียนของนักศึกษาไปยังรายวิชาในระบบ WU e-Learning 3) ศึกษาประสิทธิภาพของระบบเชื่อมโยงข้อมูลการลงทะเบียนของนักศึกษาไปยังรายวิชาในระบบ WU e-Learning งานวิจัยประยุกต์ใช้แนวคิดของวงจรการบริหารงานคุณภาพ (PDCA) เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและปรับปรุงกระบวนการ มีการพัฒนานวัตกรรมใหม่โดยประยุกต์ใช้กูเกิลแอปพลิเคชันและแพลตฟอร์ม Yii Framework มาพัฒนาระบบ มีการเรียกใช้งานเว็บเซอร์วิสในมูเดิลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความปลอดภัย และนำแนวคิดลีนมาเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ผลการวิจัยพบว่า 1) มีการนำข้อมูลการลงทะเบียนของนักศึกษาเข้ารายวิชาในระบบ WU e-Learning 2) มีเว็บไซต์ระบบเชื่อมโยงข้อมูลการลงทะเบียนของนักศึกษาไปยังรายวิชาในระบบ WU e-Learning 3) เพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน โดยลดขั้นตอนการนำเข้าข้อมูลแต่ละรายวิชาได้ 9 ขั้นตอน ลดระยะเวลาลง 15 นาที และมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นร้อยละ 45 ลดการรอคอยของอาจารย์จาก 2 วัน เหลือ 5 นาที และจากการใช้งานระบบในภาคการศึกษาที่ 2 ประจำปีการศึกษา 2566 พบว่า มีการนำเข้าข้อมูลนักศึกษาจำนวน 300 รายวิชา การทำงานแบบเดิมใช้เวลา 6,000 นาที แบบใหม่ใช้เวลา 1,500 นาที ลดต้นทุนการปฏิบัติงานโดยรวมได้ 84,375 ต่อปีการศึกษา</p> <p>&nbsp;</p> 2024-04-19T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 https://wjst.wu.ac.th/index.php/stssp/article/view/25829 การสร้างอุปกรณ์สำหรับเทอาหารเลี้ยงเชื้อจุลินทรีย์ 2024-04-25T09:34:08+07:00 ชลิดา จันทร์ทิน schalida@wu.ac.th สถิตย์ เพชรกาฬ schalida@wu.ac.th <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp; จากการทำงานด้านจุลชีววิทยาพบว่าในการเตรียมอาหารเลี้ยงเชื้อจุลินทรีย์เพื่อเทลงจานอาหารเลี้ยงเชื้อ มักเกิดปัญหาเทอาหารวุ้นไม่หมดขวดอาหารแข็งที่ก้นขวด และมือบาดเจ็บจากการจับขวดอาหารที่กำลังร้อน ดังนั้นเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจึงได้จัดสร้างอุปกรณ์สำหรับเทอาหารเลี้ยงเชื้อจุลินทรีย์ขึ้น ซึ่งอุปกรณ์ดังกล่าวมีต้นทุนต่อชิ้นประมาณ 90 บาท สามารถใช้กับขวดเตรียมอาหารได้ทุกขนาดไม่เกิน 1,000 มิลลิลิตร และจากแบบสอบถามความพึงพอใจในประสิทธิภาพของอุปกรณ์ 5 ระดับ ได้แก่ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย และน้อยที่สุด โดยกลุ่มประชากรผู้ประเมินเป็นผู้ที่มีประสบการณ์การเตรียมอาหารเลี้ยงเชื้อจำนวน 56 ท่าน พบว่า ความพึงพอใจในประสิทธิภาพของอุปกรณ์ 6 ประเด็นในแบบสอบถามได้แก่ 1) ประสิทธิภาพในการป้องกันความร้อน 2) การลดระยะเวลาในการทำงาน 3) การลดการบาดเจ็บ (มือบวม พอง) จากการทำงาน 4) ความเหมาะสมในการทำงาน 5) ความพึงพอใจในการใช้อุปกรณ์ชิ้นนี้สำหรับทำงาน 6) ความปลอดเชื้อจากการใช้อุปกรณ์ชิ้นนี้เทอาหารเลี้ยงเชื้อ ซึ่งทุกประเด็นมีค่าเฉลี่ยของความพึงพอใจอยู่ในระดับพอใจมากที่สุดในช่วง 4.29 - 4.43 โดยผู้ตอบแบบสอบถามมีความพอใจในประสิทธิภาพการป้องกันความร้อนในระดับมากที่สุดที่ 4.43</p> <p>&nbsp;</p> 2024-04-25T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 https://wjst.wu.ac.th/index.php/stssp/article/view/25831 การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 2024-04-29T16:10:25+07:00 ฟาเดีย เชิญถนอมวงศ์ fadia.co@wu.ac.th ธนพิพัฒน์ สัมพันธมาศ fadia.co@wu.ac.th <p>บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยใช้กิจกรรมในปีงบประมาณ 2565 ตามแนวทางขององค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) โดยกำหนดขอบเขตในการประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมภายในมหาวิทยาลัยเป็น 3 ขอบเขต ได้แก่ ขอบเขตที่ 1 การปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยตรงจากกิจกรรมหลักขององค์กร ขอบเขตที่ 2 การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมจากการใช้ไฟฟ้าขององค์กร และขอบเขตที่ 3 การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมอื่น ๆ จากกิจกรรมหลักขององค์กร พบว่า ในปี 2565 มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกประมาณ 10,437 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า โดยมีการปล่อยสูงสุดจากกิจกรรมในขอบเขตที่ 2 (การใช้ไฟฟ้า) ร้อยละ 64.07 ตามด้วยขอบเขตที่ 3 และขอบเขตที่ 1 ตามลำดับ ผลการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พบว่า การใช้ไฟฟ้าในองค์กรเป็นกิจกรรมที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุด ดังนั้นจึงควรมุ่งเน้นการลดการใช้พลังงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพลังงานไฟฟ้า รวมถึงการสนับสนุนให้หน่วยงาน อาจารย์ นักศึกษา และบุคลากรในมหาวิทยาลัยได้ตระหนักถึงหน้าที่และการมีส่วนร่วมในการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งข้อมูลดังกล่าวยังช่วยสนับสนุนให้มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ในการประเมินด้านความยั่งยืนของสถาบันการศึกษาตามเกณฑ์ UI GreenMetric World University Rankings และการจัดอันดับ Time higher Impact Rankings ต่อไป</p> 2024-04-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024