การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

Authors

  • ฟาเดีย เชิญถนอมวงศ์ ศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช 80160
  • ธนพิพัฒน์ สัมพันธมาศ ศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช 80160

Keywords:

คาร์บอนฟุตพริ้นท์, องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน), ก๊าซเรือนกระจก

Abstract

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยใช้กิจกรรมในปีงบประมาณ 2565 ตามแนวทางขององค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) โดยกำหนดขอบเขตในการประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมภายในมหาวิทยาลัยเป็น 3 ขอบเขต ได้แก่ ขอบเขตที่ 1 การปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยตรงจากกิจกรรมหลักขององค์กร ขอบเขตที่ 2 การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมจากการใช้ไฟฟ้าขององค์กร และขอบเขตที่ 3 การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมอื่น ๆ จากกิจกรรมหลักขององค์กร พบว่า ในปี 2565 มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกประมาณ 10,437 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า โดยมีการปล่อยสูงสุดจากกิจกรรมในขอบเขตที่ 2 (การใช้ไฟฟ้า) ร้อยละ 64.07 ตามด้วยขอบเขตที่ 3 และขอบเขตที่ 1 ตามลำดับ ผลการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พบว่า การใช้ไฟฟ้าในองค์กรเป็นกิจกรรมที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุด ดังนั้นจึงควรมุ่งเน้นการลดการใช้พลังงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพลังงานไฟฟ้า รวมถึงการสนับสนุนให้หน่วยงาน อาจารย์ นักศึกษา และบุคลากรในมหาวิทยาลัยได้ตระหนักถึงหน้าที่และการมีส่วนร่วมในการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งข้อมูลดังกล่าวยังช่วยสนับสนุนให้มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ในการประเมินด้านความยั่งยืนของสถาบันการศึกษาตามเกณฑ์ UI GreenMetric World University Rankings และการจัดอันดับ Time higher Impact Rankings ต่อไป

Downloads

Published

2024-04-29

How to Cite

เชิญถนอมวงศ์ ฟ. ., & สัมพันธมาศ ธ. (2024). การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ . Science, Technology, and Social Sciences Procedia, 2024(1), NCR2R19. Retrieved from https://wjst.wu.ac.th/index.php/stssp/article/view/25831