ผลของการฝึกแอโรบิกแบบหนักสลับเบาต่อไขมันและพังผืดในตับในผู้ที่มีภาวะน้ำหนักตัวเกินและภาวะอ้วนร่วมกับโรคไขมันพอกตับชนิดที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์

Authors

  • ปียานิฐ ธนวนิชนาม สาขาเวชศาสตร์การกีฬา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร 10330
  • มณีรัตน์ ชยานุภัทร์กุล สาขาเวชศาสตร์การกีฬา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร 10330
  • ณัฐวรรณ สงวนวงษ์ ภาควิชาสรีรวิทยา และ ห้องปฏิบัติการวิจัย Sports and Exercise Medicine Research Laboratory คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร 10330
  • ธนัท ทับเที่ยง ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร 10330
  • วีรภัทร โฆษิตานุฤทธิ์ ภาควิชาสรีรวิทยา และ ห้องปฏิบัติการวิจัย Sports and Exercise Medicine Research Laboratory คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร 10330
  • จักรพรรณพงษ์ ธีรปณิธาน ภาควิชาสรีรวิทยา และ ห้องปฏิบัติการวิจัย Sports and Exercise Medicine Research Laboratory คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร 10330
  • นิตยา ศิริแสง ศูนย์อาชีวอนามัยและสร้างเสริมสุขภาพบุคลากร โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย กรุงเทพมหานคร 10330
  • อรอนงค์ กุละพัฒน์ สาขาเวชศาสตร์การกีฬา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร 10330

Keywords:

พังผืดในตับ, ภาวะน้ำหนักตัวเกิน, โรคไขมันพอกตับชนิดที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์, การออกกำลังกายแบบหนักสลับเบา, การควบคุมการรับประทานอาหาร

Abstract

ในปัจจุบันโรคที่เกี่ยวข้องทางเมทาบอลิกมีอัตราเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะโรคไขมันพอกตับชนิดที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ ซึ่งยังไม่มียามาตรฐานที่ใช้ในการรักษา จึงมักแนะนำให้ผู้ที่ภาวะดังกล่าวปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยเน้นไปที่การออกกำลังกาย และการควบคุมการรับประทานอาหาร  การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลของการฝึกแอโรบิกแบบหนักสลับเบาต่อการลดลงของไขมันและพังผืดในตับในผู้ที่มีภาวะน้ำหนักตัวเกินและภาวะอ้วนร่วมกับโรคไขมันพอกตับชนิดที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ ในอาสาสมัคร 16 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 8 คน และกลุ่มควบคุม 8 คน โดยทั้ง 2 กลุ่มมีข้อมูลพื้นฐานไม่แตกต่างกัน กลุ่มทดลองฝึกออกกำลังกายแบบหนักสลับเบาด้วยการปั่นจักรยาน 3 วันต่อสัปดาห์ ระยะเวลา 23 นาทีต่อวัน และทั้ง 2 กลุ่มคุมอาหารเหมือนกันโดยมีนักโภชนาการคอยควบคุม วิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างกลุ่มโดยใช้สถิติ independent t-test ผลการศึกษาพบว่า การออกกำลังกายด้วยการปั่นจักรยานแบบหนักสลับเบาในระยะเวลา 3 เดือน ไม่ส่งผลต่อการลดลงของไขมันพอกตับและพังผืดในตับ และไม่มีความแตกต่างจากกลุ่มควบคุม  ทั้งนี้กลุ่มทดลองมีสมรรถภาพการทำงานของร่างกายที่ดีขึ้น ทั้งอัตราการใช้ออกซิเจนสูงสุดของร่างกาย ความหนักสูงสุดของการออกกำลังกาย และอัตราการเผาผลาญขณะพักที่มากขึ้นเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม

Downloads

Published

2024-04-19

How to Cite

ธนวนิชนาม ป. ., ชยานุภัทร์กุล ม. ., สงวนวงษ์ ณ. ., ทับเที่ยง ธ., โฆษิตานุฤทธิ์ ว. ., ธีรปณิธาน จ. ., ศิริแสง น., & กุละพัฒน์ อ. (2024). ผลของการฝึกแอโรบิกแบบหนักสลับเบาต่อไขมันและพังผืดในตับในผู้ที่มีภาวะน้ำหนักตัวเกินและภาวะอ้วนร่วมกับโรคไขมันพอกตับชนิดที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ . Science, Technology, and Social Sciences Procedia, 2024(1), NCR2R29. Retrieved from https://wjst.wu.ac.th/index.php/stssp/article/view/25819