การศึกษาเปรียบเทียบการสร้างแบบจำลองกับการฝึกซ้อมอพยพจริง ในพื้นที่อาคารสูงสำนักงาน

Authors

  • อรวรรณ บัวแย้ม สาขาวิศวกรรมความปลอดภัย คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (บางเขน) กรุงเทพมหานคร 10900
  • ธงไชย โรหิตะดิษฐ ศรีนพคุณ ภาควิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (บางเขน) กรุงเทพมหานคร 10900

Keywords:

โปรแกรม Pathfinder, การจำลองการอพยพหนีไฟ, บันไดหนีไฟ, เส้นทางหนีไฟ, ผู้นำอพยพ

Abstract

บทความนี้จำลองการอพยพหนีไฟโดยใช้โปรแกรม Pathfinder เปรียบเทียบกับการซ้อมอพยพหนีไฟจริงในปี 2566 ในพื้นที่อาคารสำนักงาน ความสูง 22 ชั้น ขนาดพื้นที่ทั้งหมด 36,700 ตารางเมตร พื้นที่ใช้งาน 6.66 ตารางเมตรต่อคน เส้นทางการหนีไฟ 2 ทาง จำนวนพนักงานทั้งหมดประมาณ 3,000 คน ในการจำลองสถาณการณ์กำหนดจำนวนคนทั้งหมด 901 คนและเปรียบเทียบระยะเวลาในการอพยพคนออกนอกอาคาร กรณีไม่กำหนดผู้นำอพยพและเส้นทางการอพยพกับกรณีกำหนดผู้นำอพยพและเส้นทางการอพยพโดยการแบ่งจำนวนคนในพื้นที่ 70 % ให้ใช้บันไดหนีไฟที่ 1 อีก 30 % ให้ใช้บันไดหนีไฟที่ 2 พบว่าเมื่อเทียบกับรายงานการฝึกซ้อมอพยพจริงโดยไม่มีการกำหนดผู้นำอพยพและเส้นทางการอพยพ พบปัญหาเดียวกันคือ ผู้อพยพบางรายไม่ทราบเส้นทางการหนีไฟ บันไดหนีไฟที่ 2 มีความแออัดสูงกว่าบันไดหนีไฟที่ 1 เนื่องจากบันไดหนีไฟที่ 2 มีขนาดเล็กกว่าบันไดหนีไฟที่ 1 แต่ยังสามารถอพยพคนออกจากอาคารได้โดยใช้เวลาไม่เกินตามที่กฎหมายกำหนด และกรณีกำหนดผู้นำอพยพและเส้นทางการอพยพใช้เวลาในการอพยพคนออกนอกอาคารน้อยกว่าถึง 10 นาที 15 วินาที เมื่อเทียบกับการไม่กำหนดเส้นทางการอพยพหนีไฟเนื่องจากไม่พบปริมาณความแออัดในบันไดหนีไฟที่ 1 และ 2 การใช้โปรแกรม Pathfinder ในการจำลองการอพยพหนีไฟสามารถนำผลการจำลองมาปรับใช้ในการจัดทำแผนอพยพคนภายในอาคารกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน

Downloads

Published

2024-04-19

How to Cite

บัวแย้ม อ. ., & โรหิตะดิษฐ ศรีนพคุณ ธ. . (2024). การศึกษาเปรียบเทียบการสร้างแบบจำลองกับการฝึกซ้อมอพยพจริง ในพื้นที่อาคารสูงสำนักงาน. Science, Technology, and Social Sciences Procedia, 2024(1), NCR2R28. Retrieved from https://wjst.wu.ac.th/index.php/stssp/article/view/25817