ผลของโปรแกรมการให้สุขศึกษาต่อความรู้ ความเชื่อ การตัดสินใจเข้ารับการรักษาและระยะเวลาที่ใช้ในการตัดสินใจเข้ารับการรักษาเมื่อต้องกลับมารักษาซ้ำของผู้สูงอายุกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล: การพัฒนาโปรแกรมและการศึกษาความเป็นไปได้

Authors

  • อริญชย์ เมตรพรมราช ภาควิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 40002
  • สมรภพ บรรหารักษ์ ภาควิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 40002

Keywords:

โปรแกรมการให้สุขศึกษา, ความเชื่อ, การตัดสินใจเข้ารับการรักษา, ผู้สูงอายุ, กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน

Abstract

ผู้สูงอายุเป็นกลุ่มที่มีอัตราการเสียชีวิตหรือการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันสูงที่สุด โดยสาเหตุสำคัญมาจากการขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงของโรค อาการที่เฉพาะเจาะจงในผู้สูงอายุ และความเชื่อที่ไม่เหมาะสมเกี่ยวกับภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ทำให้มีการตัดสินใจเข้ารับการรักษาล่าช้าจนเกิดภาวะแทรกซ้อนหรือเสียชีวิตได้ การศึกษานำร่องครั้งนี้ใช้การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบและการวิจัยกึ่งทดลองเพื่อพัฒนาและศึกษาความเป็นไปได้ของโปรแกรมการให้สุขศึกษาในผู้สูงอายุภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันที่เข้ารับการรักษาที่ศูนย์หัวใจสิริกิติ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีการดำเนินการ 2 ระยะ ได้แก่ ระยะพัฒนาโปรแกรม และระยะตรวจสอบคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน ส่วนเครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลมีค่าความตรงเชิงเนื้อหา (Content validity Index: CVI) ดังนี้ แบบสัมภาษณ์ข้อมูลทั่วไป แบบสัมภาษณ์ความรู้เกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยง อาการ และอาการแสดง แบบวัดความเชื่อประโยชน์ของการโทรเรียก 1669 แบบวัดความเชื่ออุปสรรค แบบวัดความเชื่อสมรรถนะแห่งตน แบบวัดสิ่งชักนำให้เกิดการปฏิบัติ และแบบวัดการเลือกสิ่งแรกที่ควรทำเมื่อเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน มีค่า CVI เท่ากับ 1.00 ส่วนแบบวัดความเชื่อความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน แบบวัดความเชื่อความรุนแรงของภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน และแบบวัดการจัดการอาการเมื่อเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน มีค่า CVI เท่ากับ 0.85, 0.99 และ 0.94 ตามลำดับ หลังจากนั้นนำไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 8 ราย ผลการศึกษาพบว่าโปรแกรมการให้สุขศึกษามีความเป็นไปได้ที่จะนำไปใช้กับกลุ่มผู้สูงอายุกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล โดยหลังได้รับโปรแกรมการให้สุขศึกษา ผู้สูงอายุมีการรับรู้ความเสี่ยง การรับรู้สิ่งชักนำให้ปฏิบัติ และการรับรู้สมรรถนะแห่งตนสูงขึ้นกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ข้อเสนอแนะการศึกษาในอนาคตควรเพิ่มขนาดกลุ่มตัวอย่างและควรทำการศึกษาวิจัยเชิงทดลอง เพื่อเป็นการสนับสนุนว่าโปรแกรมมีความน่าเชื่อถือสูงและสามารถอ้างอิงสู่ประชากรได้

Downloads

Published

2023-06-30

How to Cite

เมตรพรมราช อ. ., & บรรหารักษ์ ส. . (2023). ผลของโปรแกรมการให้สุขศึกษาต่อความรู้ ความเชื่อ การตัดสินใจเข้ารับการรักษาและระยะเวลาที่ใช้ในการตัดสินใจเข้ารับการรักษาเมื่อต้องกลับมารักษาซ้ำของผู้สูงอายุกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล: การพัฒนาโปรแกรมและการศึกษาความเป็นไปได้. Science, Technology, and Social Sciences Procedia, 2023(3), NCCR02. Retrieved from https://wjst.wu.ac.th/index.php/stssp/article/view/25795