ประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการดูแลตนเองต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและการควบคุมความดันโลหิตของผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง

Authors

  • กัลปนา เพชรอินทร์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ ปฏิบัติงานศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง โรงพยาบาลตรัง อำเภอเมือง จังหวัดตรัง 92000
  • นันทยา เสนีย์ อาจารย์พยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีตรัง อำเภอเมือง จังหวัดตรัง 92000

Keywords:

ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการดูแลตนเอง, พฤติกรรมการดูแลตนเอง, ความดันโลหิตสูง

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลัง เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการดูแลตนเองของผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงที่มารับบริการที่ศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง อ. เมือง จ.ตรัง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ที่มีความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุที่ไม่สามารถควบคุมความดันโลหิตได้จำนวน 60 ราย คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ซึ่งได้รับโปรแกรมส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการดูแลตนเองเป็นเวลาทั้งสิ้น 6 เดือน ประกอบด้วย 3 ระยะคือ 1) การประเมินความสามารถในการดูแลตนเอง 2) สนับสนุนการให้ความรู้โดยให้คำแนะนำ แลกเปลี่ยนประสบการณ์และการให้กำลังใจ และ 3) การติดตามด้วยการเยี่ยมบ้านและให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์ เก็บรวบรวมข้อมูลก่อนและหลังการทดลอง โดยใช้แบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลตนเองและแบบบันทึกระดับความดันโลหิต วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณาและการทดสอบทีแบบกลุ่มไม่อิสระ (Paired sample t-test) ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการดูแลตนเองโดยรวมและรายด้านสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) ค่าเฉลี่ยความดันซิสโตลิกและความดันไดแอสโตลิกต่ำกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) ทั้งนี้ศูนย์บริการสุขภาพควรสนับสนุนส่งเสริมการดูแลตนเองของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้และให้อาสาสมัครสาธารณสุขคอยติดตามดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง

 

Downloads

Published

2023-06-30

How to Cite

เพชรอินทร์ ก. ., & เสนีย์ น. . (2023). ประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการดูแลตนเองต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและการควบคุมความดันโลหิตของผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง. Science, Technology, and Social Sciences Procedia, 2023(3), NCCR01. Retrieved from https://wjst.wu.ac.th/index.php/stssp/article/view/25794