การอนุรักษ์และพัฒนาเคี่ยม (Cotylelobium lanceolatum) แบบบูรณาการครบวงจร

Authors

  • จิระศักดิ์ วิชาสวัสดิ์ สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร อำเภอละแม จังหวัดชุมพร 86170
  • พัชรินทร์ วิริยะสุขสวัสดิ์ หมวดศึกษาทั่วไป คณะมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อำเภอละแม จังหวัดชุมพร 86170
  • วิชชุดา เอื้ออารี หมวดศึกษาทั่วไป คณะมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อำเภอละแม จังหวัดชุมพร 86170
  • เชษฐ์ ใจเพชร สาขาวิชาการเมืองการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร อำเภอละแม จังหวัดชุมพร 8617
  • ทวิช เตี่ยไพบูลย์ วิศวกรไฟฟ้า มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร อำเภอละแม จังหวัดชุมพร 86170
  • วชิระ ชุ่มมงคล สาขาวิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 20590
  • ปิยนุช จันทรัมพร สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร อำเภอละแม จังหวัดชุมพร 86170
  • ณัชพัฒน์ สุขใส สาขาวิชาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร อำเภอละแม จังหวัดชุมพร 86170
  • พิไลวรรณ พู่พัฒนศิลป์ หมวดศึกษาทั่วไป คณะมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อำเภอละแม จังหวัดชุมพร 86170

Keywords:

เคี่ยม, เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ, กรดแทนนิก, สบู่เคี่ยม, ภูมิปัญญา

Abstract

วัตถุประสงค์ของโครงการอนุรักษ์และพัฒนาเคี่ยมแบบบูรณาการครบวงจร เพื่อสนองพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประกอบด้วย 4 กิจกรรมหลัก ได้แก่ กิจกรรมที่ 1 การศึกษาสารสำคัญและการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเคี่ยม พบว่า 1) เปลือกเคี่ยมมีสารประกอบพอลิฟีนอล สาร antioxidant 2) สูตรอาหารที่เหมาะสมต่อการเพาะเลี้ยง embryo คือ อาหารสูตร MS ที่เติม BA 2 และ 4 มิลลิกรัม/ลิตร ช่วยให้สามารถงอกรากได้ดีที่สุด 20 เปอร์เซ็นต์ หลังจากเพาะเลี้ยง 140 วัน กิจกรรมที่ 2 ศึกษาสารสำคัญ คือ กรดแทนนิกจากเคี่ยม กรดแทนนิกมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและต้านจุลินทรีย์ งานวิจัยนี้ได้ศึกษาการประยุกต์ใช้การจับก้อนด้วยไฟฟ้าในการคัดแยกกรดแทนนิกจากส่วนต่างๆของต้นเคี่ยม ด้วยวิธีการ reflux จากนั้นศึกษาประสิทธิภาพการจับก้อนด้วยไฟฟ้าโดยการวิเคราะห์หาปริมาณกรดแทนนิกในสารสกัดและสารละลายจากต้นเคี่ยมด้วยเทคนิค HPLC พบว่า ส่วนปีกผลของเคี่ยมให้ค่าร้อยละมากที่สุด เท่ากับ 61.49 เปอร์เซ็นต์ กิจกรรมที่ 3 ได้ศึกษาการผลิตสบู่จากเคี่ยม โดยใช้สารสกัดหยาบเปลือกเคี่ยมที่มีสารแทนนินผสมกับกลีเซอรีน พบว่า สูตรที่เหมาะสมในการทำสบู่เคี่ยมจากสารสกัดหยาบมากที่สุด คือ สูตร 1 สารสกัดเคี่ยม น้ำผึ้ง น้ำมะขาม น้ำขมิ้น เมื่อวิเคราะห์คุณสมบัติของสบู่เคี่ยม พบว่า มีค่า Fat 3.65 g/100g  มีค่าพีเอช 6.68  ค่า Total Plate Count <10 CFU/g  ซึ่งไม่พบ Free hydroxide กิจกรรมที่ 4 ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นในการใช้เคี่ยม และทำสื่อรวบรวมองค์ความรู้จากทั้ง 3 กิจกรรม สรุปได้ว่าเปลือกเคี่ยมสามารถนำมาทำเป็นสารกันบูดในน้ำหวานจากต้นจาก เนื้อไม้ทำเฟอร์นิเจอร์ และสรุปภาพรวมแบบบูรณาการพร้อมทั้งเผยแพร่ความรู้ผ่านสื่อในรูปแบบ online

 

 

Downloads

Published

2022-10-03

How to Cite

วิชาสวัสดิ์ จ. ., วิริยะสุขสวัสดิ์ พ., เอื้ออารี ว. ., ใจเพชร เ. ., เตี่ยไพบูลย์ ท. ., ชุ่มมงคล ว. ., จันทรัมพร ป. ., สุขใส ณ. ., & พู่พัฒนศิลป์ พ. . (2022). การอนุรักษ์และพัฒนาเคี่ยม (Cotylelobium lanceolatum) แบบบูรณาการครบวงจร . Science, Technology, and Social Sciences Procedia, 2022(4), rspg016. Retrieved from https://wjst.wu.ac.th/index.php/stssp/article/view/25761