การสร้างอัตลักษณ์ของทุเรียนพันธุ์พื้นเมืองที่มีคุณลักษณะสะเด็ดน้ำ ในตำบลแม่หวาด อำเภอธารโต จังหวัดยะลา

Authors

  • พาตีเมาะ อาแยกาจิ วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา 950
  • นัสรี มะแน สถาบันวิจัยและพัฒนาชายแดนภาคใต้ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา 95000
  • อิสริยาภรณ์ ดำรงรักษ์ วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา 95000
  • มูฮำหมัดตายุดิน บาฮะคีรี สถาบันวิจัยและพัฒนาชายแดนภาคใต้ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา 95000
  • ซูไบดี โตะโมะ สถาบันวิจัยและพัฒนาชายแดนภาคใต้ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา 95000
  • นิราณี บือราเฮง วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา 95000

Keywords:

ทุเรียนพันธุ์พื้นเมือง, อัตลักษณ์, ตำบลแม่หวาด

Abstract

การศึกษาทุเรียนพันธุ์พื้นเมืองที่มีคุณลักษณะสะเด็ดน้ำในตำบลแม่หวาด อำเภอธารโต จังหวัดยะลา บนพื้นที่ที่มีความสูงระดับน้ำทะเลปานกลาง 131-420 เมตร ค่าความเป็นกรดด่างของดิน 4.93-7.06 อุณหภูมิ 26-40 องศาเซลเซียส มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหลากหลายของสายพันธุ์และสร้างอัตลักษณ์ให้กับพันธุ์ทุเรียนพันธุ์พื้นเมืองสะเด็ดน้ำ กลุ่มตัวอย่างคือทุเรียนพันธุ์พื้นเมือง จำนวน 13 ต้น สุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงโดยคัดเลือกจากทุเรียนที่มีลักษณะเด่นเนื้อหนา รสชาติหวาน ใช้แบบสัมภาษณ์และแบบบันทึกข้อมูลในการเก็บข้อมูลระหว่างเดือนธันวาคม 2563 ถึงสิงหาคม 2564 มีวิธีการวิจัยดังนี้ 1) เวทีประชาคมเพื่อศึกษาความต้องการของชุมชน 2) สัมภาษณ์เจ้าของสวนที่เข้าร่วมโครงการ 3) เก็บตัวอย่างทุเรียนพันธุ์พื้นเมืองและสภาพแวดล้อมแหล่งที่อยู่ของทุเรียนพันธุ์พื้นเมือง 4) ศึกษาผลการสกัด DNA ของทุเรียนพันธุ์พื้นเมือง 5) วิเคราะห์จุดเด่นของทุเรียนพันธุ์พื้นเมือง โดยใช้วิธีการกำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์ (Market Positioning) นำมาสู่ การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมและศักยภาพ (SWOT) ของทุเรียนพันธุ์พื้นเมืองที่ผลิตได้ในตำบลแม่หวาด อำเภอธารโต จังหวัดยะลา ผลการศึกษาพบว่าสามารถจำแนกสายพันธุ์ทุเรียนได้ 3 กลุ่ม คือ กลุ่มเบ็ดเตล็ด พบมากที่สุด (8 ต้น) รองลงมาคือ กลุ่มก้านยาว (1 ต้น)  และกลุ่มกำปั่น (1 ต้น) ไม่สามารถจำแนกกลุ่มได้ (3 ต้น) เนื่องจากตัวอย่างไม่ครบสมบูรณ์ และสามารถพัฒนาอัตลักษณ์ของทุเรียนโดยคัดเลือกทุเรียนพันธุ์พื้นเมืองที่มีอัตลักษณ์โดดเด่น รสชาติอร่อย สีเนื้อน่ารับประทานตรงตามความต้องการของผู้บริโภค ดังนี้ 1) สินค้า: จำนวน 3 ต้น ได้แก่ มะห์ตีเตะ บูเตนากอ และสีทอง ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มเบ็ดเตล็ด 2) ชื่อตราสินค้า คือ ทุเรียนสะเด็ดน้ำพันธุ์พื้นเมืองตำบลแม่หวาด 3) บุคลิกของตราสินค้าและสัญลักษณ์ คือ ทุเรียนโบราณเนื้อแห้งสะเด็ดน้ำ รสหวาน กลิ่นไม่ฉุน เนื้อสีเหลืองทองน่ารับประทาน ปลูกบนที่สูง บริเวณรอบอ่างเก็บน้ำเขื่อนบางลางที่เป็นแหล่งดินตะกอนที่อุดมสมบูรณ์ และปลอดภัยปลอดสารพิษ และ 4) ต้นกำเนิดของตราสินค้า คือ ตำบลแม่หวาด อำเภอ ธารโต จังหวัดยะลา

 

Downloads

Published

2022-09-28

How to Cite

อาแยกาจิ พ. . ., มะแน น. ., ดำรงรักษ์ อ. . ., บาฮะคีรี ม. . ., โตะโมะ ซ. . ., & บือราเฮง น. . . (2022). การสร้างอัตลักษณ์ของทุเรียนพันธุ์พื้นเมืองที่มีคุณลักษณะสะเด็ดน้ำ ในตำบลแม่หวาด อำเภอธารโต จังหวัดยะลา. Science, Technology, and Social Sciences Procedia, 2022(4), rspg054. Retrieved from https://wjst.wu.ac.th/index.php/stssp/article/view/25757