การเฝ้าระวังคุณภาพน้ำโดยใช้แพลงก์ตอนพืชเป็นดัชนีชีวภาพในคลองโพธิ์ ตำบลสามเรือน อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Authors

  • ยุพิน พูนดี สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การประมง คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13000

Keywords:

การเฝ้าระวัง, คุณภาพน้ำ, แพลงก์ตอนพืช, ดัชนีชีวภาพ, คลองโพธิ์, ตำบลสามเรือน

Abstract

การเฝ้าระวังคุณภาพน้ำโดยใช้แพลงก์ตอนพืชเป็นดัชนีชีวภาพในคลองโพธิ์ ตำบลสามเรือน อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นการสนองพระราชดำริโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ (อพ.สธ.) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้แพลงก์ตอนพืชเป็นดัชนีชีวภาพในการชี้วัดคุณภาพน้ำในคลองโพธิ์ ร่วมกับกลุ่มอนุรักษ์คลองโพธิ์ องค์การบริหารส่วนตำบลสามเรือน และชุมชนสามเรือน โดยได้กำหนดจุดที่จะทำการเก็บตัวอย่างจำนวน 3 สถานี ได้แก่ สถานีที่ 1 ศูนย์การเรียนรู้เห็ดตับเต่า สถานีที่ 2 วัดสามเรือน และสถานีที่ 3 ตำบลตลิ่งชันที่เป็นเขตติดต่อกับตำบลสามเรือน ทำการเก็บ 2 ครั้ง ในช่วงเดือนพฤษภาคมและมิถุนายน 2564 โดยทำการวัดคุณภาพน้ำทางกายภาพและเคมีบางประการประกอบด้วยได้แก่ ความมลึกของน้ำ ค่าความโปร่งแสง อุณหภูมิน้ำ อุณหภูมิอากาศ ค่าความเป็นกรด-ด่าง และปริมาณออกซิเจนในน้ำ และการวัดคุณภาพน้ำด้วยแพลงก์ตอนพืช (Phytoplankton) พบว่าน้ำมีสีน้ำตาล ใส มีกลิ่นเหม็นเล็กน้อย ความลึกของน้ำอยู่ในช่วง 1.5-2.2 เซนติเมตร ค่าความโปร่งแสงของน้ำอยู่ในช่วง 50-100 เซนติเมตร อุณหภูมิน้ำอยู่ในช่วง 32-34 องศาเซลเซียส  อุณหภูมิอากาศ 32-37 องศาเซลเซียส ค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) อยู่ในช่วง 6.91-7.98  และปริมาณออกซิเจนในน้ำอยู่ในช่วง 4.3-7.8 มิลลิกรัมต่อลิตร เมื่อทำการเทียบกับมาตรฐานคุณภาพน้ำแหล่งน้ำผิวดินของกรมควบคุมมลพิษพบว่าอยู่ในคุณภาพน้ำปานกลาง และพบว่าแพลงก์ตอนพืชที่พบในคลองโพธิ์มีทั้งหมด 26 ชนิด โดยชนิด Chlamydomonas sp. พบมากที่สุด รองลงมาคือ Cosmarium sp. และ Cylindrospermopsis sp. ตามลำดับ แล้วเมื่อนำมาจัดระดับคุณภาพน้ำเทียบกับตาราง AARL-PP Score (Applied Algal Research Laboratory– Phytoplankton Score) พบว่าอยู่ในคุณภาพน้ำปานกลางถึงไม่ดี การใช้แพลงก์ตอนพืชจึงเป็นตัวชี้วัดในการบ่งบอกคุณภาพน้ำได้ ซึ่งทางชุมชนและกลุ่มอนุรักษ์คลองโพธิ์สามารถใช้ร่วมกับการวิเคราะห์ทางกายภาพและเคมีได้ ทำให้ช่วยในการเฝ้าระวังคุณภาพน้ำของคลองโพธิ์ต่อไปได้

Downloads

Published

2022-09-22

How to Cite

พูนดี ย. . (2022). การเฝ้าระวังคุณภาพน้ำโดยใช้แพลงก์ตอนพืชเป็นดัชนีชีวภาพในคลองโพธิ์ ตำบลสามเรือน อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. Science, Technology, and Social Sciences Procedia, 2022(4), rspg057. Retrieved from https://wjst.wu.ac.th/index.php/stssp/article/view/25751