ประสิทธิภาพของสารสกัดจากเซลล์เท้ายายม่อมเพาะเลี้ยงต่อการยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคในอาหาร

Authors

  • นิภาวรรณ์ จิตโสภากุล สาขาพืชศาสตร์ สิ่งทอและการออกแบบ คณะเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ 32000

Keywords:

เท้ายายม่อม, แคลลัส, เอทานอล, เฮกเซน, สารสกัด

Abstract

โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) โดยนำแคคลัสของเท้ายายม่อมเพาะเลี้ยงบนอาหารแข็งสูตร Murashige and Skoog (1962) ที่แปรผันความเข้มข้นของ 6-benzylaminopurine 0 1 2 และ 3 มิลลิกรัมต่อลิตร 2,4-dichlorophenoxyacetic acid ความเข้มข้น 0.5 และ 1 มิลลิกรัมต่อลิตร เติม และไม่เติม α-naphthalene acetic acid ความเข้มข้น 0.5 มิลลิกรัมต่อลิตร และ Indole acetic acid ความเข้มข้น 1 และ 2 มิลลิกรัมต่อลิตร เพาะเลี้ยงเป็นเวลา 60 วัน ที่อุณหภูมิ 25±2 องศาเซลเซียส ให้แสง 10 ชั่วโมงต่อวัน พบว่า แคลลัสมีสีขาวปนเขียว ก้อนเล็กอัดแน่น มีขนาดใหญ่ที่สุดเฉลี่ย 2.56 x 3.17 เซนติเมตร เมื่อเพาะเลี้ยงบนอาหารที่เติม 6- benzylaminopurine ความเข้มข้น 3 มิลลิกรัมต่อลิตร จำนวนยอด และความสูงยอดสูงสุดเฉลี่ย 3.10 ยอดต่อแคลลัส และ 2.65 เซนติเมตร ตามลำดับ เมื่อเพาะเลี้ยงแคลลัสบนอาหารที่เติม Indole acetic acid ความเข้มข้น 1 มิลลิกรัมต่อลิตร และจำนวนรากสูงสุดเฉลี่ย 23 รากต่อแคลลัส เมื่อเพาะเลี้ยงบนอาหารที่เติม α-Naphthalene acetic acid ความเข้มข้น 0.5 มิลลิกรัมต่อลิตร เมื่อศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดจากเท้ายายม่อมเพาะเลี้ยงในการยับยั้งเชื้อ Escherichia coli และ Bacillus cereus ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคในอาหารด้วยวิธี Agar disc diffusion โดยเปรียบเทียบตัวทำละลายในการสกัดสารจากแคลลัสเพาะเลี้ยง คือ เอทานอล 95 เปอร์เซ็นต์ และเฮกเซน พบว่า การใช้เอทานอล 95 เปอร์เซ็นต์ เป็นตัวทำละลายสามารถสกัดสารจากแคลลัสเพาะเลี้ยงที่มีผลยับยั้งเชื้อ Escherichia coli และ Bacillus cereus มากกว่าการใช้เฮกเซนเป็นตัวทำละลาย สารสกัดจากแคลลัสที่เพาะเลี้ยงบนอาหารที่เติม 2,4-dichlorophenoxyacetic acid ความเข้มข้น 0.5 และ 1 มิลลิกรัมต่อลิตร ร่วมกับ α-naphthalene acetic acid ความเข้มข้น 1 มิลลิกรัมต่อลิตร สามารถยับยั้งเชื้อ Bacillus cereus และ Escherichia coli มากที่สุด โดยมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของบริเวณยับยั้งเฉลี่ย 0.77 และ 0.80 เซนติเมตร ตามลำดับ การสกัดสารจากใบ ลำต้น และรากเท้ายายม่อมเพาะเลี้ยงใช้เอทานอล 95 เปอร์เซ็นต์ เป็นตัวทำละลาย พบว่า สารสกัดจากรากที่เพาะเลี้ยงบนอาหารที่เติม BA ความเข้มข้น 1 และ 2 มิลลิกรัมต่อลิตร อาหารที่เติม BA ความเข้มข้น 1 มิลลิกรัมต่อลิตร ร่วมกับ α-naphthalene acetic acid ความเข้มข้น 0.5 มิลลิกรัมต่อลิตร และอาหารที่เติม α-naphthalene acetic acid และ 2,4-D ความเข้มข้น 0.5 มิลลิกรัมต่อลิตร ให้ผลในการยับยั้งเชื้อ Escherichia coli โดยมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของบริเวณยับยั้งเฉลี่ย 0.70 เซนติเมตร เช่นเดียวกับสารสกัดจากรากที่เพาะเลี้ยงบนอาหารที่เติม 2,4-dichlorophenoxyacetic acid ความเข้มข้น 0.5 มิลลิกรัมต่อลิตร ร่วมกับ α-naphthalene acetic acid ความเข้มข้น 1 มิลลิกรัมต่อลิตร สามารถยับยั้งเชื้อ Bacillus cereus ได้เพียงสูตรเดียว สารสกัดจากใบเท้ายายม่อมที่เพาะเลี้ยงบนอาหารที่เติม 2,4-D ความเข้มข้น 1 มิลลิกรัมต่อลิตร สามารถยับยั้งเชื้อ Escherichia coli ได้เพียงสูตรเดียว โดยมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของบริเวณยับยั้งเฉลี่ย 0.85 เซนติเมตร ซึ่งสูงกว่าสารสกัดจากแคลลัส และราก แต่ไม่สามารถยับยั้งเชื้อ Bacillus cereus ได้ ส่วนสารสกัดจากลำต้นของเท้ายายม่อมที่เพาะเลี้ยงบนอาหารแข็งทุกสูตรโดยไม่มีผลในการยับยั้งเชื้อทั้ง 2 ชนิด สารสกัดจากเซลล์แคลลัส ใบ และรากเท้ายายม่อมเพาะเลี้ยงมีผลในการยับยั้งเชื้อ Escherichia coli ซึ่งเป็นแบคทีเรียแกรมลบได้มากกว่าเชื้อ Bacillus cereus ซึ่งเป็นแบคทีเรียแกรมบวก ในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชด้วยวิธีการเพาะเลี้ยงเซลล์เท้ายายม่อม เพื่อผลิตสารออกฤทธิ์สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเพาะเลี้ยงพืชท้องถิ่นชนิดอื่นเพื่อผลิตสารจากพืชที่เป็นประโยชน์ต่อไป

 

Downloads

Published

2022-09-22

How to Cite

จิตโสภากุล น. (2022). ประสิทธิภาพของสารสกัดจากเซลล์เท้ายายม่อมเพาะเลี้ยงต่อการยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคในอาหาร. Science, Technology, and Social Sciences Procedia, 2022(4), rspg056. Retrieved from https://wjst.wu.ac.th/index.php/stssp/article/view/25750