การพัฒนาสูตรอาหารเลี้ยงด้วงสาคู (Rhynchophorus ferrugenieus) โดยใช้รำและอาหารสุกรสำเร็จรูป ที่เสริมด้วยเปลือกมะพร้าวสดและแห้งอัตราส่วนที่ต่างกัน

Authors

  • เบ็ญจมาภรณ์ นุชนิยม สาขาวิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี 76000
  • วุฒิชัย ฤทธิ สาขาวิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี 76000
  • สุมิตานันท์ จันทะบุรี สาขาวิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี 76000
  • ประดิพันธ์ ทองแถม ณ อยุธยา สาขาวิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี 76000
  • วรางรัตน์ ง่วนชู สาขาวิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี 76000
  • ดำรงศักดิ์ อาลัย สาขาวิชาสัตวศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี 76000
  • ไกรฤกษ์ ทวีเชื้อ สาขาวิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี 76000
  • ญาณพัฒน์ พรมประสิทธิ์ สาขาวิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี 76000

Keywords:

ด้วงสาคู, การเจริญเติบโต, การเพาะเลี้ยง,, เปลือกมะพร้าว

Abstract

ด้วงสาคู (Rhynchophorus ferruginieus) จัดอยู่ในวงศ์ Curculionidae จัดเป็นศัตรูพืชวงศ์ปาล์ม ระยะหนอนนิยมนำมารับประทานเพราะอุดมด้วยคุณค่าทางโภชนาการ อย่างไรก็ตาม บางพื้นที่มีข้อจำกัดการเลี้ยงด้วยอาหารธรรมชาติ การศึกษาครั้งนี้เป็นการเลี้ยงด้วงสาคูระยะหนอนโดยใช้วัสดุทดแทนคือการใช้รำ อาหารสุกรสำเร็จรูปและเน้นไปที่การเสริมด้วยเปลือกมะพร้าวสดและแห้งอัตราส่วนที่ต่างกันจำนวน 6 สูตร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อดูประสิทธิผลของอาหารแต่ละสูตรที่มีต่อน้ำหนักและจำนวนตัวที่ได้ ผลการศึกษาพบว่าสูตรอาหารที่ทดลองทุกสูตรสามารถใช้เลี้ยงด้วงสาคูโดยสามารถเก็บผลเมื่ออายุ 45 วันได้ แต่ให้ประสิทธิผลที่มีต่อน้ำหนักและจำนวนตัวที่แตกต่างกัน สูตรอาหารที่มีส่วนผสมของเปลือกมะพร้าวสดให้ผลที่ดีกว่าสูตรอาหารที่มีส่วนผสมเฉพาะปลือกมะพร้าวแห้งทั้งจำนวนตัวที่ได้และน้ำหนักเฉลี่ยต่อตัว สัดส่วนที่เหมาะสมของอัตราส่วนเปลือกมะพร้าวที่ให้น่าจะส่งผลต่อลักษณะทางกายภาพของอาหารที่เหมาะสมต่อการวางไข่และการพัฒนาของระยะหนอน นอกจากนั้น รำและอาหารสุกรสำเร็จรูปถือว่าเป็นอาหารหลักที่จำเป็น แต่การที่เปลือกมะพร้าวมีคุณค่าทางอาหารโดยเฉพาะคาร์โบไฮเดรตและแร่ธาตุที่จำเป็น น่าจะเป็นปัจจัยเสริมที่ทำให้สูตรอาหารนั้น ๆ อุดมด้วยคุณค่าทางโภชนาการต่อด้วงสาคูมากขึ้นดังนั้นในพื้นที่ที่มีข้อจำกัดด้านวัตถุดิบที่ใช้เป็นอาหารเพาะเลี้ยง เปลือกมะพร้าวสดสามารถเป็นหนึ่งในวัตถุดิบที่ใช้ในสูตรอาหารได้ นอกจากเป็นการลดต้นทุนแล้ว ยังเป็นเพิ่มมูลค่าวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรได้อีกทางหนึ่ง

 

Downloads

Published

2022-09-21

How to Cite

นุชนิยม . เ. ., ฤทธิ ว. ., จันทะบุรี ส. ., ทองแถม ณ อยุธยา ป. ., ง่วนชู ว., อาลัย ด. ., ทวีเชื้อ ไ., & พรมประสิทธิ์ ญ. . (2022). การพัฒนาสูตรอาหารเลี้ยงด้วงสาคู (Rhynchophorus ferrugenieus) โดยใช้รำและอาหารสุกรสำเร็จรูป ที่เสริมด้วยเปลือกมะพร้าวสดและแห้งอัตราส่วนที่ต่างกัน. Science, Technology, and Social Sciences Procedia, 2022(4), rspg047. Retrieved from https://wjst.wu.ac.th/index.php/stssp/article/view/25747