การศึกษาจุลินทรีย์ต่อคุณสมบัติของปุ๋ยหมักที่ผลิตจากเศษพืชโดยกระบวนการหมักแบบไม่กลับกอง

Authors

  • อดิศักดิ์ มงคล อุทยานหลวงราชพฤกษ์ สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50100
  • วิกาญดา สายวงค์ใจ อุทยานหลวงราชพฤกษ์ สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50100
  • ซูไรดา เปาะอีแต สาขาพืชไร่ คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อำเภอสันทราย เชียงใหม่ 50290
  • วิชญ์ภาส สังพาลี สาขาพืชไร่ คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อำเภอสันทราย เชียงใหม่ 50290

Keywords:

ปุ๋ยหมัก, จุลินทรีย์

Abstract

            ปุ๋ยหมัก (compost) คือปุ๋ยอินทรีย์ที่ได้จากวัสดุอินทรีย์ที่ผ่านกระบวนการหมัก ทั้งนี้วัสดุอินทรีย์ได้แก่วัสดุเหลือทิ้งจากการเกษตรหรือวัชพืช สำหรับในกระบวนการทำปุ๋ยหมักอาจอาศัยจุลินทรีย์ที่มีอยู่ตามธรรมชาติหรือจุลินทรีย์ที่ผ่านการทดสอบในห้องปฏิบัติการ เพื่อช่วยในการย่อยสลายวัสดุอินทรีย์ที่มีองค์ประกอบซับซ้อนให้มีขนาดเล็กลง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแหล่งของจุลินทรีย์ที่มีผลต่อการย่อยสลายและคุณสมบัติของปุ๋ยหมักที่ผลิตแบบไม่กลับกอง ทำการศึกษา ณ อุทยานหลวงราชพฤกษ์ ต.แม่เหียะ อ.เมืองเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ วางแผนการทดลองแบบสุ่มบล็อคสมบูรณ์ (Randomized Complete Block Design, RCBD) ทำการทดลอง 4 กรรมวิธี 5 ซ้ำ ได้แก่ 1) ไม่ใส่เชื้อจุลินทรีย์ (ควบคุม) 2) สารเร่งซุปเปอร์ พด.1 3) เชื้อจุลินทรีย์ย่อยสลายเซลลูโลส 4) น้ำหมักชีวภาพจากองุ่น ทำการศึกษาระยะเวลา 60 วัน จากการศึกษาพบว่า ปุ๋ยหมักทั้ง 4 กรรมวิธี มีคุณสมบัติด้านเคมีและปริมาณธาตุอาหารที่ไม่แตกต่างกัน ซึ่งคุณสมบัติของปุ๋ยดังกล่าวอยู่เกณฑ์มาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์ของกรมวิชาการเกษตร และมาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์ของกรมพัฒนาที่ดินกำหนด ยกเว้นปริมาณฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมเท่านั้นที่มีต่ำกว่ามาตรฐานของปุ๋ยอินทรีย์ทั้งสองมาตรฐาน การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิจะสูงในช่วงเริ่มต้นและลดลงจนเสร็จสิ้นกระบวนการหมัก โดยมีอุณหภูมิอยู่ระหว่าง 26.6-27.4 องศาเซลเซียส เนื่องมาจากสภาพอากาศเย็นในช่วงฤดูหนาวที่มีผลต่อกิจกรรมของจุลินทรีย์ ส่วนอัตราการย่อยสลายสมบูรณ์พบว่ากรรมวิธีที่ใส่เชื้อจุลินทรีย์ทั้ง 3 กรรมวิธีให้อัตราการย่อยสลายสูงกว่ากรรมวิธีที่ไม่ใส่เชื้อจุลินทรีย์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยกรรมวิธีที่ใส่สารเร่งซุปเปอร์ พด.1  มีอัตราการย่อยสลายมากที่สุดและผ่านมาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์ที่กำหนดไว้ จากผลการศึกษาที่ระยะเวลา 60 วัน ยังไม่สามารถนำปุ๋ยหมักไปใช้ในการเกษตรได้ การใส่เชื้อจุลินทรีย์ในกระบวนการหมักจะเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่จะเพิ่มอัตราการย่อยสลายเพื่อให้ได้ปุ๋ยที่มีคุณภาพและผ่านมาตรฐานของปุ๋ยหมักตามที่กำหนด

 

Downloads

Published

2022-09-20

How to Cite

มงคล อ. ., สายวงค์ใจ ว. ., เปาะอีแต ซ. ., & สังพาลี ว. . (2022). การศึกษาจุลินทรีย์ต่อคุณสมบัติของปุ๋ยหมักที่ผลิตจากเศษพืชโดยกระบวนการหมักแบบไม่กลับกอง. Science, Technology, and Social Sciences Procedia, 2022(4), rspg040. Retrieved from https://wjst.wu.ac.th/index.php/stssp/article/view/25743