การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของต้นรวงผึ้ง (Schoutenia glomerata King subsp. peregrina (Craib) Roekm.) ที่พบในเขตจังหวัดเชียงใหม่ด้วยเทคนิค HAT-RAPD

Authors

  • ปริญญานุช ปินนิล สาขาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
  • รัชชา สุริยา สาขาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
  • ทิพย์สุดา ตั้งตระกูล สาขาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
  • เยาวนิตย์ ธาราฉาย สาขาภูมิทัศน์ คณะสถาปัตยกรรมและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
  • รัฐพร จันทร์เดช สาขาภูมิทัศน์ คณะสถาปัตยกรรมและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290

Keywords:

ตันรวงผึ้ง, ความหลากหลายทางพันธุกรรม, ดีเอ็นเอ, แฮตอาร์เอพีดี

Abstract

ต้นรวงผึ้งจัดเป็นพืชพื้นถิ่นเดียว (endemic plant) ของประเทศไทยพบมากในป่าทางภาคเหนือที่ความสูงจากระดับน้ำทะเล 1,000 - 1,100 เมตร ดอกของต้นรวงผึ้งมีลักษณะเด่น คือมีกลีบดอกสีเหลืองสดเรียงตัวกันคล้ายรูปดาวห้าแฉกส่งกลิ่นหอมได้ตลอดทั้งวัน ดังนั้นจึงทำให้รวงผึ้งกลายเป็นพืชที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากในอุตสาหกรรมไม้หอม อีกทั้งยังมีความสำคัญเป็นต้นไม้ประจำพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10

ปัจจุบันต้นรวงผึ้งจัดเป็นพืชหายาก มีสถานะภาพใกล้จะสูญพันธุ์ในธรรมชาติอย่างยิ่ง เนื่องจากป่าไม้ได้ถูกทำลายไปจึงหลงเหลือต้นตามธรรมชาติที่พบตามแหล่งป่าเพียงเล็กน้อย นอกจากนี้ข้อมูลเชิงวิชาการของต้นรวงผึ้งโดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการรวบรวมสายพันธุ์และความหลากหลายทางพันธุกรรมของต้นรวงผึ้งยังมีค่อนข้างน้อย ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีจุดประสงค์ที่จะทำการศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของต้นรวงผึ้งที่พบในเขตพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทยด้วยเทคนิค HAT-RAPD ซึ่งผลจากการใช้ไพร์เมอร์แบบสุ่มจำนวน 30 ไพรเมอร์ พบว่ามีทั้งหมด 11 ไพรเมอร์ที่ให้ผลลายพิมพ์ดีเอ็นเอที่ชัดเจนและสามารถนำไปใช้ในการจัดจำแนกสายพันธุ์รวงผึ้งได้  ซึ่งจาการวิเคราะห์ความแตกต่างของลายพิมพ์ดีเอ็นเอทีสร้างขึ้นจากตัวอย่างทั้งหมด สามารถจำแนกตัวอย่างของต้นรวงผึ้งได้ออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 emu03, emu04, emu05 และ A กลุ่มที่ 2 ได้แก่ emu01, emu02, emu06 และ B

 

Downloads

Published

2022-09-19

How to Cite

ปินนิล ป. ., สุริยา ร. ., ตั้งตระกูล ท. ., ธาราฉาย เ. ., & จันทร์เดช ร. . (2022). การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของต้นรวงผึ้ง (Schoutenia glomerata King subsp. peregrina (Craib) Roekm.) ที่พบในเขตจังหวัดเชียงใหม่ด้วยเทคนิค HAT-RAPD. Science, Technology, and Social Sciences Procedia, 2022(4), rspg039. Retrieved from https://wjst.wu.ac.th/index.php/stssp/article/view/25742