การศึกษาวิธีขยายพันธุ์โปร่งกิ่วเพื่อการอนุรักษ์ไว้ซึ่งพันธุกรรมพืชในท้องถิ่นของจังหวัดสุรินทร์

Authors

  • อาทิตยา ดวงสุพรรณ์ สาขาพืชศาสตร์ สิ่งทอและการออกแบบ คณะเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์
  • วสา วงศ์สุขแสวง สาขาพืชศาสตร์ สิ่งทอและการออกแบบ คณะเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์
  • สมชญา ศรีธรรม สาขาพืชศาสตร์ สิ่งทอและการออกแบบ คณะเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์
  • วันเพ็ญ ชลอเจริญยิ่ง สาขาพืชศาสตร์ สิ่งทอและการออกแบบ คณะเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์
  • โสลิยา เรืองมะณี สาขาพืชศาสตร์ สิ่งทอและการออกแบบ คณะเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์

Keywords:

โปร่งกิ่ว, การขยายพันธุ์, การตอนกิ่ง, การปักชำ, การเพาะเมล็ด

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการที่เหมาะสมในการขยายพันธุ์ต้นโปร่งกิ่ว ให้ได้ต้นพันธุ์ที่มีคุณภาพดี และเจริญเติบโตได้เร็วประกอบด้วย งานทดลองที่ 1) ศึกษาวิธีการขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดในวัสดุเพาะที่แตกต่างกัน ได้แก่ กรรมวิธีที่ 1 พีทมอส (ชุดควบคุม) กรรมวิธีที่ 2 แกลบดำ กรรมวิธีที่ 3 หน้าดิน กรรมวิธีที่ 4 ดินผสม:หน้าดิน:พีทมอส:ใบก้ามปู:ปุ๋ยคอก อัตราส่วน 2:1:1:1 และกรรมวิธีที่ 5 ดินผสม:หน้าดิน:แกลบดิบ:แกลบดำ:พีทมอส อัตราส่วน 2:1:1:1 พบว่าเมล็ดโปร่งกิ่วที่เพาะโดยใช้กรรมวิธีที่ 1 พีทมอส และกรรมวิธีที่ 5 ดินผสมสูตร:หน้าดิน:แกลบดิบ:แกลบดำ:พีทมอส อัตราส่วน 2:1:1:1 มีแนวโน้มให้ร้อยละการงอกที่สูงคือ ร้อยละ 64.14 และร้อยละ 46.2 ตามลำดับ รวมถึงมีการเจริญเติบโตที่ดี โดยในช่วงเดือนสิงหาคม พ.ศ.2564 (เดือนที่ 7) พบว่าการเพาะด้วยกรรมวิธีที่ 1 พีทมอส ให้ค่าเฉลี่ยความสูงต้น จำนวนใบและจำนวนกิ่งเท่ากับ 23.0 เซนติเมตร 24.6 ใบ และ 10.6 กิ่ง ตามลำดับ งานทดลองที่ 2) ศึกษาการขยายพันธุ์โปร่งกิ่วโดยวิธีการปักชำยอดและกิ่งกึ่งแก่กึ่งอ่อน ประกอบด้วย กรรมวิธีที่ 1 พีทมอส กรรมวิธีที่ 2 แกลบดำ กรรมวิธีที่ 3 หน้าดิน กรรมวิธีที่ 4 ดินผสม:หน้าดิน:พีทมอส:ใบก้ามปู:ปุ๋ยคอก อัตรา 2:1:1:1 และกรรมวิธีที่ 5 ดินผสม:หน้าดิน:แกลบดิบ:แกลบดำ:พีทมอส อัตรา 2:1:1:1 พบว่า 7 เดือนหลังการปักกชำกิ่งกึ่งแก่กึ่งอ่อนให้ร้อยละของการรอดชีวิตที่สูงกว่าการปักชำยอด โดยมีค่าร้อยละเท่ากับ 73.06 และ 61.47 ตามลำดับ และงานทดลองที่ 3) ศึกษาวิธีการขยายพันธุ์โดยการตอนกิ่ง ได้แก่ กรรมวิธีที่ 1 การตอนกิ่งโดยใช้สารละลายฮอร์โมน (Exotic)  กรรมวิธีที่ 2 การตอนกิ่งโดยไม่ใช้สารเร่งราก ในการศึกษาการขยายพันธุ์โปร่งกิ่วโดยวิธีการตอนกิ่งนั้น พบว่าการตอนกิ่งร่วมกับการใช้สารละลายฮอร์โมนเพื่อกระตุ้นการเกิดรากพืชให้ร้อยละการเกิดรากของกิ่งตอนได้ดีที่สุดเมื่อเทียบกับการไม่ใช้สารละลายฮอร์โมน โดยมีค่าเท่ากับร้อยละเท่ากับ 89.01 และ 54.87 ตามลำดับ

 

 

Downloads

Published

2022-09-19

How to Cite

ดวงสุพรรณ์ อ. ., วงศ์สุขแสวง ว. ., ศรีธรรม ส. ., ชลอเจริญยิ่ง ว. ., & เรืองมะณี โ. . (2022). การศึกษาวิธีขยายพันธุ์โปร่งกิ่วเพื่อการอนุรักษ์ไว้ซึ่งพันธุกรรมพืชในท้องถิ่นของจังหวัดสุรินทร์. Science, Technology, and Social Sciences Procedia, 2022(4), rspg038. Retrieved from https://wjst.wu.ac.th/index.php/stssp/article/view/25741