ความหลากชนิดของไม้ยืนต้นภายในอุทยานหลวงราชพฤกษ์ จังหวัดเชียงใหม่

Authors

  • วรเชษฐ์ วรเวชกุล อุทยานหลวงราชพฤกษ์ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 50100
  • กฤษณะ ทองศรี อุทยานหลวงราชพฤกษ์ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 50100
  • ณปภัช วงศ์น่าน อุทยานหลวงราชพฤกษ์ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 50100
  • วิกาญดา สายวงค์ใจ อุทยานหลวงราชพฤกษ์ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 50100
  • ปริม เนตรทิพย์ อุทยานหลวงราชพฤกษ์ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 50100
  • อาณดา นิรันตรายกุล อุทยานหลวงราชพฤกษ์ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 50100
  • สุธีระ เหิมฮึก คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
  • วิชญ์ภาส สังพาลี คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290

Keywords:

ไม้ยืนต้น, ความหลากชนิด, อุทยานหลวงราชพฤกษ์

Abstract

ความหลากชนิดของพรรณไม้นอกจากเป็นองค์ประกอบหลักของพื้นที่สีเขียว และยังเป็นฐานข้อมูลทางชีวภาพที่สำคัญที่ใช้ประกอบวางแผนจัดการพรรณไม้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การศึกษาวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหลากชนิดของไม้ยืนต้นสำหรับใช้เป็นแนวทางวางแผนจัดการพรรณไม้และการใช้ประโยชน์ด้านอนุรักษ์พันธุกรรมพืชภายในอุทยานหลวงราชพฤกษ์ โดยสำรวจและบันทึกข้อมูลไม้ยืนต้นทุกต้น ที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเพียงอก ตั้งแต่ 1 เซนติเมตรขึ้นไป ระบุชื่อที่ถูกต้อง จำแนกชนิดและนิเวศของพรรณไม้ที่สำคัญ และวิเคราะห์ขนาดชั้นความโต ซึ่งคลอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด 74.88 เฮกตาร์ ผลการศึกษา พบพรรณไม้ยืนต้นทั้งหมด 17,709 ต้น 620 ชนิด 331 สกุล และ 105 วงศ์ ความหนาแน่นของต้นไม้เท่ากับ 236.50 ต้น ต่อเฮกตาร์ โดยชนิดพันธุ์ไม้ที่พบมาก 5 อันดับแรก ได้แก่ สนมังกร (Juniperus chinensis L.) ราชพฤกษ์ (Cassia fistula L.) สัตตบรรณ (Alstonia scholaris (L.) R. Br.) มะฮอกกานี (Swietenia macrophylla King) และกาแฟ (Coffea arabica L.) มีจำนวนเท่ากับ 1,407, 1,323, 654, 530 และ 494 ต้น หรือร้อยละ 7.95, 7.47, 3.69, 2.99, และ 2.79 ตามลำดับ วงศ์ที่พบจำนวนต้นมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ FABACEAE, APOCYNACEAE, CUPRESSACEAE, MORACEAE และ BIGNONIACEAE เท่ากับ 3,324, 1,505, 1,410, 1,387 และ 589 ต้น หรือร้อยละ 18.77, 8.50, 7.91, 7.83 และ 3.33 ตามลำดับ นอกจากนี้พบชนิดพันธุ์ไม้ที่มีจำนวนต้นเพียงชนิดละ 1 ต้น จำนวน 159 ชนิด หรือร้อยละ 25.65 ของชนิด ชนิดพันธุ์ไม้ที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเพียงอกสูงสุด คือ ต้นโพธิ์ศรีมหาโพธิ์ (Ficus religiosa L.) มีขนาดเท่ากับ 212 เซนติเมตร การกระจายตัวของขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเพียงอกพบว่าในชั้นขนาด 0-10 เซนติเมตร พบจำนวนต้นสูงสุดเท่ากับ 7,789 ต้น หรือร้อยละ 43.98 ขนาดพื้นที่หน้าตัดรวม 537.49 ตารางเมตร และเมื่อจำแนกชนิดตามนิเวศพรรณไม้ พบว่ากลุ่มไม้ยืนต้นที่เป็นพืชพื้นเมือง (Native plant) มีจำนวน 538 ชนิด รวม 15,620 ต้น หรือคิดเป็นร้อยละของจำนวนชนิดและจำนวนต้นทั้งหมด เท่ากับ  86.77, 88.20 ตามลำดับ และกลุ่มไม้ยืนต้นที่เป็นพืชต่างถิ่น (Exotic plant) จำนวน 82 ชนิด รวม 2,089 ต้น หรือคิดเป็นร้อยละของจำนวนชนิดและจำนวนต้นทั้งหมด เท่ากับ 13.23, 11.80 ตามลำดับ และเมื่อพิจารณาระดับชนิดตามสภาพความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตในโลก (IUCN Red List) พบจำนวน 32 ชนิด หรือ     ร้อยละ 5.16 โดยจำแนกตามสถานภาพของชนิดพันธุ์ ได้แก่ กังวลน้อยที่สุด (Least Concern: LC) จำนวน 15 ชนิด ใกล้ถูกคุกคาม (Near Threatened: NT) จำนวน 2 ชนิด มีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ (Vulnerable: VU) จำนวน 4 ชนิด ใกล้ศูนย์พันธุ์ (Endangered: EN) จำนวน 6 ชนิด พืชหายากของโลก จำนวน 3 ชนิด พืชถิ่นเดียว จำนวน 1 ชนิด และต้องมีการควบคุม   (อยู่ในบัญชีที่ 2 ของ CITES) จำนวน 1 ชนิด โดยผลการศึกษานี้จะเป็นฐานข้อมูลทางชีวภาพของพรรณไม้ที่สำคัญ ประกอบด้วยข้อมูลเชิงปริมาณ การเจริญเติบโตและลักษณะทางนิเวศพรรณไม้ สำหรับใช้วางแผนจัดการใช้ประโยชน์และอนุรักษ์พันธุกรรมพืช ซึ่งจะสามารถพัฒนาอุทยานหลวงราชพฤกษ์ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านพฤกษศาสตร์ในรูปแบบพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต (Live Museum) ที่เชื่อมโยงให้ผู้คนได้สัมผัสถึงธรรมชาติและปลูกฝั่งให้เกิดการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมต่อไป

 

Downloads

Published

2022-09-19

How to Cite

วรเวชกุล ว. ., ทองศรี ก. ., วงศ์น่าน ณ. ., สายวงค์ใจ ว. ., เนตรทิพย์ ป. ., นิรันตรายกุล อ., เหิมฮึก ส., & สังพาลี ว. . (2022). ความหลากชนิดของไม้ยืนต้นภายในอุทยานหลวงราชพฤกษ์ จังหวัดเชียงใหม่. Science, Technology, and Social Sciences Procedia, 2022(4), rspg037. Retrieved from https://wjst.wu.ac.th/index.php/stssp/article/view/25740