การฟอกฆ่าเชื้อและการเพาะเลี้ยงตาข้างบุนนาคในหลอดทดลอง

Authors

  • สุภาพร วงษ์วาศ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ 60000
  • พรพรรณ ทิมทอง หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ 60000
  • ชลดา เดชาเกียรติไกร ธีรการุณวงศ์ สาขาวิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ 60000
  • วราภรณ์ ฉุยฉาย สาขาวิชาชีววิทยาและเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ 60000

Keywords:

การฟอกฆ่าเชื้อ, ไซโทไคนิน, พืชสมุนไพร, อนุภาคนาโนไทเทเนียมไดออกไซด์

Abstract

บุนนาคเป็นพืชสมุนไพรที่ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ดได้ยาก การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเป็นอีกทางหนึ่งที่ช่วยเพิ่มจำนวนบุนนาคได้ จึงศึกษาการขยายพันธุ์บุนนาคซึ่งเป็นพืชสมุนไพรที่ปลูกในสวนพฤกษศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ โดยนำตาข้างของบุนนาคมาฟอกฆ่าเชื้อด้วย Chlorox และอนุภาคนาโนไทเทเนียมไดออกไซด์ที่ความเข้มข้นและระยะเวลาต่าง ๆ กัน ซึ่งพบว่า การฟอกฆ่าเชื้อด้วย Chlorox เข้มข้นร้อยละ 20 เป็นเวลา 20 นาที ให้ร้อยละการปนเปื้อนจุลินทรีย์หลังการฟอกฆ่าเชื้อ 7 วันต่ำที่สุด การศึกษาผลของสารควบคุมการเจริญเติบโต BA ความเข้มข้น 0, 0.5 และ 1 มิลลิกรัมต่อลิตร ร่วมกับ NAA ความเข้มข้น 0, 0.1 และ 0.5 มิลลิกรัมต่อลิตรในอาหารสูตร MS พบว่า ไม่สามารถชักนำให้เกิดยอดจำนวนมากได้ ตาข้างบุนนาคเกิดตาเพียง 2 ตาต่อชิ้นเท่าเดิม แต่การใช้ NAA อย่างเดียวหรือ NAA ร่วมกับ BA มีแนวโน้มชักนำให้ตาข้างพัฒนาไปเป็นแคลลัส จึงเลือกทดสอบผลของการใช้ไซโทไคนินชนิดเดียวคือ BA ความเข้มข้น 0, 1, 3 และ 5 มิลลิกรัมต่อลิตร หรือ TDZ 0, 0.1, 0.5 และ 1 มิลลิกรัมต่อลิตร ในอาหารสูตร MS พบว่า ไม่สามารถชักนำให้เกิดยอดจำนวนมากได้เช่นกัน แต่ การใช้ BA ความเข้มข้น 3 - 5 มิลลิกรัมต่อลิตร มีการรอดชีวิตและสภาพของเนื้อเยื่อดีกว่าการใช้ TDZ ส่วนผลการเพาะเลี้ยงในอาหาร WPM หรือ MS ที่เติมสารควบคุมการเจริญเติบโต BA ความเข้มข้น 0, 1, 3 และ 5 มิลลิกรัมต่อลิตร พบว่า ไม่สามารถชักนำให้เกิดยอดจำนวนมากได้ แต่การใช้อาหารสูตร WPM ทำให้การรอดชีวิตของเนื้อเยื่อสูงขึ้นอย่างชัดเจน ดังนั้นสูตรอาหารที่เหมาะสมคือ อาหารสูตร WPM ที่เติม BA ความเข้มข้น 5 มิลลิกรัมต่อลิตร แต่ต้องพัฒนาวิธีการที่เหมาะสมในการชักนำให้เกิดยอดจำนวนมากหรือเร่งการเจริญของตาข้างให้เป็นยอดที่สมบูรณ์พร้อมออกรากต่อไป

Downloads

Published

2022-09-19

How to Cite

วงษ์วาศ ส. ., ทิมทอง พ. ., เดชาเกียรติไกร ธีรการุณวงศ์ ช. ., & ฉุยฉาย ว. . (2022). การฟอกฆ่าเชื้อและการเพาะเลี้ยงตาข้างบุนนาคในหลอดทดลอง. Science, Technology, and Social Sciences Procedia, 2022(4), rspg032. Retrieved from https://wjst.wu.ac.th/index.php/stssp/article/view/25738