การใช้ประโยชน์จากพืชให้กลิ่นและพืชที่ใช้ปรุงแต่งรสชาติอาหารเพื่อการอนุรักษ์และ เพิ่มมูลค่าในเชิงพาณิชย์

Authors

  • พนอจิต นิติสุข คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ 46000
  • กรรณิการ์ ห้วยแสน คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ 46000
  • หนูเดือน สาระบุตร คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ 46000
  • สุภาพร พุ่มริ้ว คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ 46000
  • พนิดา วงศ์ปรีดี คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ 46000
  • อภิญญา ภูมิสายดอน คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ 46000

Keywords:

สีธรรมชาติ, การผลิตผงสี, พืชให้สี, พืชให้กลิ่น, พืชใช้ปรุงแต่งรสชาติ

Abstract

งานวิจัยนี้วัตถุประสงค์เพื่อผลิตภัณฑ์ผงสำหรับผสมอาหารจากพืช ได้แก่ พืชให้สี พืชให้กลิ่น และพืชที่ใช้ปรุงแต่งรสชาติอาหาร รูปแบบต่างๆ ในเชิงพาณิชย์ โดยการดำเนินงานมีการดำเนินงาน เป็นดังนี้ 1) รวบรวมพันธุ์พืชกลุ่มจำแนกออกเป็นกลุ่มต่างๆ เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ พืชกลุ่มให้สี ได้แก่ สีแดงจากแก่นฝาง สีเหลืองจากเมล็ดลูกพุด สีม่วงจากดอกอัญชัน พืชกลุ่มให้กลิ่น ได้แก่ ใบเตย และพืชกลุ่มใช้ปรุงแต่งรสชาติอาหาร ได้แก่ มะกอกป่า และใบย่านาง 2) การเพิ่มมูลค่าแก่พืชกลุ่มให้สี กลิ่น และปรุงรส โดยผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ปรุงแต่งสี กลิ่น และรสชาติอาหารเชิงอุตสาหกรรม จากการผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ผงสีจากดอกอัญชัน ผงสีจากฝาง ผงให้สีและกลิ่นจากใบเตย การผลิตผงให้รสชาติแก่อาหารจากผลมะกอกป่า และใบย่านาง จากการดำเนินโครงการวิจัยนี้ สามารถผลิตผงสี ผงให้กลิ่น และผงปรุงแต่งรสชาติอาหาร จากดอกอัญชัน เมล็ดดอกพุด ฝาง ใบเตย มะกอกป่า และย่านางได้ โดยคุณภาพของผงที่ผลิตได้จะแตกต่างกันไปตามคุณลักษณะของวัตถุดิบ ที่นำมาผลิต ซึ่งพบว่าผงที่ผลิตได้มีคุณภาพทางกายภาพ ซึ่งได้แก่ค่า ปริมาณน้ำอิสระ ปริมาณความชื้น ความสามารถในการละลาย และ สีการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่แตกต่างกัน โดยพบว่าผลิตภัณฑ์ผงที่ค่อนข้างมีคุณสมบัติโดดเด่นในการมีฤทธิ์ในการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระคือ มะกอก ซึ่งพบว่ามีแนวโน้มของการเป็นพืชที่มีคุณภาพสูงในด้านการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ในส่วนผงให้กลิ่นจากใบเตยพบว่า สามารถผลิตเป็นผงในเตยที่มีสีเขียวสด และทุกตัวอย่างมีแนวโน้มที่สามารถละลายน้ำได้ดี ผงที่ผลิตได้ทุกตัวอย่างจึงเหมาะที่จะนำไปใช้ประกอบอาหาร หรือในอุตสาหกรรมอาหารได้ดี และสามารถเพิ่มมูลค่าในเชิงพาณิชย์ได้

Downloads

Published

2022-09-19

How to Cite

นิติสุข พ., ห้วยแสน ก. ., สาระบุตร ห. ., พุ่มริ้ว ส. ., วงศ์ปรีดี พ. . ., & ภูมิสายดอน อ. . (2022). การใช้ประโยชน์จากพืชให้กลิ่นและพืชที่ใช้ปรุงแต่งรสชาติอาหารเพื่อการอนุรักษ์และ เพิ่มมูลค่าในเชิงพาณิชย์. Science, Technology, and Social Sciences Procedia, 2022(4), rspg061. Retrieved from https://wjst.wu.ac.th/index.php/stssp/article/view/25737