ความหลากหลายและการใช้ประโยชน์ของผักพื้นเมืองภาคใต้

Authors

  • ปิยะนุช มุสิกพงศ์ ศูนย์วิจัยพืชสวนตรัง สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง 92150
  • ชญานุช ตรีพันธ์ ศูนย์วิจัยพืชสวนตรัง สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง 92150
  • อรรถพล รุกขพันธ์ ศูนย์วิจัยพืชสวนตรัง สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง 92150
  • ฉัตรชัย กิตติไพศาล ศูนย์วิจัยพืชสวนตรัง สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง 92150
  • นาตยา ดำอำไพ ศูนย์วิจัยพืชสวนตรัง สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง 92150

Keywords:

ผักพื้นเมือง, การใช้ประโยชน์, คุณค่าทางโภชนาการ, ความหลากหลาย

Abstract

ศูนย์วิจัยพืชสวนตรัง ได้รับมอบหมายจากกรมวิชาการเกษตร ให้ดำเนินงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมผักพื้นเมืองของภาคใต้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สนองพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมาร ดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 โดยมีการสำรวจ รวบรวบ และสร้างแปลงอนุรักษ์พันธุกรรมผักพื้นเมืองต่างๆ ของภาคใต้ เช่น พันธุ์ผักพื้นเมืองที่นิยมบริโภค ผักพื้นเมืองที่หายาก และใกล้สูญพันธุ์ มาปลูกอนุรักษ์ไว้ สามารถรวบรวมพันธุกรรมผักพืชเมือง จำนวน 65 ชนิด จัดจำแนกตามได้ 26 วงศ์ เมื่อดำเนินเก็บบันทึกข้อมูลลักษณะประจำพันธุ์ และการใช้ประโยชน์ สามารถจำแนกส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ ได้ 5 กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มที่ 1 ส่วนของลำต้น กลุ่มที่ 2 ส่วนของใบและยอด กลุ่มที่ 3 ส่วนของดอก กลุ่มที่ 4 ส่วนของผล และกลุ่มที่ 5 ส่วนของเมล็ด พบว่า
กลุ่มการใช้ประโยชน์กลุ่มที่ 2 ใบและยอด มีจำนวนมากสุด เท่ากับ 37 ชนิด นอกจากนี้ มีการคัดเลือกผักพื้นเมืองที่นิยมนำมาใช้ประโยชน์ ความต้องการของตลาด และศึกษาองค์ประกอบและคุณค่าทางโภชนาการ ประกอบด้วย คุณค่าทางโภชนาการ แร่ธาตุ วิตามิน และโลหะหนัก จำนวน 47 ชนิด สามารถคัดเลือกผักพื้นเมือที่มีศักยภาพได้ จำนวน 5 ชนิด คือ ขี้เหล็ก ผักหวานบ้าน ผักหวานป่า มะม่วงหิมพานต์
และหมรุย (ยอดขาว) สำหรับขยายผลสู่แปลงเกษตรกร เพื่อเป็นการบริโภคภายในครัวเรือน ลดรายจ่าย และเสริมรายได้ให้แก่เกษตรกร ทั้งยังเป็นการสร้างจิตสำนักในการอนุรักษ์ทรัพยากรพันธุ์พืชให้คงอยู่เพื่อให้เยาวชนรุ่นหลังได้รู้จัก เห็นถึงคุณค่า และใช้ประโยชน์จากผักพื้นเมืองต่อไป

Downloads

Published

2022-09-19

How to Cite

มุสิกพงศ์ ป. ., ตรีพันธ์ ช. ., รุกขพันธ์ อ. ., กิตติไพศาล ฉ. . ., & ดำอำไพ น. . (2022). ความหลากหลายและการใช้ประโยชน์ของผักพื้นเมืองภาคใต้ . Science, Technology, and Social Sciences Procedia, 2022(4), rspg062. Retrieved from https://wjst.wu.ac.th/index.php/stssp/article/view/25736