สำรวจความหลากหลายเบื้องต้นของพันธุ์พืช และเชื้อราในสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี

Authors

  • ธนารักษ์ จันทรประสิทธิ์ ภาควิชาศิลปอุตสาหกรรม คณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร 10520
  • นฤมล ตั้งธีระสุนันท์ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร 10520
  • สุพัตรา โพธิ์เอี่ยม ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร 10520

Keywords:

ด่านช้าง, สุพรรณบุรี, ความหลากหลาย, พืช, เห็ด, รา

Abstract

สำรวจความหลากหลายของพันธุ์พืช และเชื้อราที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าหรือเชื้อราที่มีขนาดใหญ่ (Macrofungi) ภายในพื้นที่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ตำบลองค์พระ อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี ช่วงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2564 ถึง พฤษภาคม พ.ศ. 2565 โดยพื้นที่สำรวจนั้นมีความหลากหลาย โดยมีลักษณะเป็นภูเขาลูกคลื่น ลอนลาดสลับเชิงเขา มีความลาดเทระหว่างร้อยละ 10-35 พื้นที่มีความสูงเหนือระดับน้ำทะเลตั้งแต่ระดับ 100-300 เมตร และมีหนองน้ำในบริเวณใกล้เคียง สภาพป่าโดยรวมเป็นป่า
เต็งรัง (Dry dipterocarp forest) สลับป่าเบญจพรรณ (Mixed deciduous forest) พื้นดินมีหินบนดินมาก ความหลากหลายทางด้านพันธุ์พืชพบทั้งหมด 40 วงศ์ (Family) แบ่งออกเป็น 102 สายพันธุ์ (Species) โดยวงศ์ที่พบจำนวนสายพันธุ์สูงสุดสามลำดับ คือ วงศ์ถั่ว (Fabaceae หรือ Leguminosae-Papilionoideae) จำนวน 21 สายพันธุ์ วงศ์ทานตะวัน (Asteraceae หรือ Daisy) จำนวน 7 สายพันธุ์ และวงศ์ผักบุ้ง (Convolvulaceae หรือ Morning-glories) จำนวน 7 สายพันธุ์ และเมื่อจำแนกพืชตามลักษณะนิสัยพบมากที่สุดสามลำดับ คือ ไม้ล้มลุก 50 สายพันธุ์ ไม้ยืนต้นจำนวน 18 สายพันธุ์ และไม้เลื้อยจำนวน 17 สายพันธุ์ ทั้งนี้ยังพบพืชเด่นที่น่าสนใจ เช่น จอกหินตะนาวศรี (Dorcoceras glabrum C. Puglisi) ซึ่งเป็นพืชถิ่นเดียว (Endemic plant) ที่สามารถสนับสนุนให้มีการสร้างแนวทางอนุรักษ์ เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการสูญพันธุ์ไปจากพื้นที่ รวมทั้งผักแว่นต้น (Crotalaria medicaginea Lam.) ที่มีความคลุมเครือในการเรียกชื่อในแต่ละท้องถิ่น จึงเป็นข้อมูลที่ควรทำการศึกษา และสนับสนุนข้อมูลร่วมกับชุมชนให้เกิดการนำไปใช้อย่างถูกต้อง พร้อมทั้งพัฒนาและเพิ่มมูลค่าสมุนไพรไทย ในด้านความหลากหลายของเชื้อรานั้นพบเชื้อราทั้งหมด 16 สายพันธุ์ โดยพบกระจายอยู่ทั้งหมด 11 วงศ์ เชื้อราส่วนใหญ่ (15 สายพันธุ์) จัดอยู่ในไฟลัมเบสิดิโอไมโคตา (Basidiomycota) หรือเรียกทั่วไปว่ากลุ่มเห็ด มีเพียง 1 สายพันธุ์ คือ Xylaria cf. allantoidea ที่จัดอยู่ในไฟลัม
แอสโคไมโคตา (Ascomycota) จากข้อมูลความหลายของสายพันธุ์พืชและเชื้อราแต่ละสายพันธุ์ที่พบในการศึกษานี้นำไปสู่การค้นคว้าข้อมูลของการนำไปใช้ประโยชน์ แสดงให้เห็นว่าทั้งพืชและเชื้อรามีการนำไปใช้ประโยชน์ที่หลากหลายแตกต่างกันไป เช่น พืชนำไปใช้ในด้านสมุนไพร อาหาร ไม้ประดับ และไม้ใช้สอย เป็นต้น ส่วนเชื้อรานำไปใช้ในด้านเห็ดป่ารับประทานได้ (Edible wild mushrooms) ราย่อยสลายไม้ (Wood decay fungi) และสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ (Bioactive compounds) เป็นต้น ดังนั้นพื้นที่สำรวจนี้พบว่ามีความหลากหลายทางทรัพยากรธรรมชาติที่มีศักยภาพหลากหลาย แสดงให้เห็นว่ามีความเหมาะสมนำไปสูงการวางแผนศึกษา เรียนรู้ อนุรักษ์ควบคู่กับการพัฒนา และสนับสนุนการนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างยั่งยืนจากธรรมชาติใกล้ตัวในอนาคตได้

Downloads

Published

2022-09-19

How to Cite

จันทรประสิทธิ์ ธ. ., ตั้งธีระสุนันท์ น. ., & โพธิ์เอี่ยม ส. . (2022). สำรวจความหลากหลายเบื้องต้นของพันธุ์พืช และเชื้อราในสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี . Science, Technology, and Social Sciences Procedia, 2022(4), rspg067. Retrieved from https://wjst.wu.ac.th/index.php/stssp/article/view/25735