แนวทางการยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์อาหาร: กรณีศึกษา ผลิตภัณฑ์แปรรูปเห็ดตับเต่าของกลุ่มแปรรูปพัฒนารวมใจ ตำบลสามเรือน อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Authors

  • วิจิตรา เหลียวตระกูล สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13000
  • วชิรญา เหลียวตระกูล สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13000
  • วรรภา วงศ์แสงธรรม สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13000
  • สุณิสา สุวรรณพันธ์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13000

Keywords:

เห็ดตับเต่าอบแห้ง, จังหวัดพระนครศรีอยุธยา, ยกระดับ, มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน, อาหารปลอดภัย

Abstract

โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพ ปัญหาและอุปสรรคในการควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์แปรรูปเห็ดตับเต่า เพื่อวิเคราะห์จุดวิกฤตที่ต้องควบคุมในกระบวนการผลิตให้เป็นไปตามมาตรฐาน และเพื่อวิเคราะห์แนวทางการพัฒนาขีดความสามารถของกลุ่มแปรรูปพัฒนารวมใจ ตำบลสามเรือน อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สู่การรับรองมาตรฐาน จากการศึกษาและวิจัยแนวทางในการควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์แปรรูปเห็ดตับเต่าสู่มาตรฐานผลิตภัณฑ์ โดยใช้เทคโนโลยีเฮอร์เดิลด้วยการควบคุมอุณหภูมิระหว่างการอบแห้ง ลดการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ในระหว่างการผลิตและเก็บรักษา และการบรรจุในสภาวะสุญญากาศ และวิเคราะห์กระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์แปรรูปเห็ดตับเต่าของกลุ่มแปรรูปพัฒนารวมใจในการควบคุมคุณภาพให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิต (Good Manufacturing Practice, GMP) ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 342) พ.ศ. 2555 เรื่อง วิธีการผลิต เครื่องมือเครื่องใช้ในการผลิต และการเก็บรักษาอาหารแปรรูปที่บรรจุในภาชนะพร้อมจําหน่าย และการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม (Hazard Analysis Critical Control Point, HACCP) ตามระบบการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุมในการผลิตอาหารและคำแนะนำในการนำไปใช้ (มอก 7000-2549) โดยการนำองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารมาใช้ในการพัฒนากระบวนการผลิตพบว่า เดิมกลุ่มแปรรูปพัฒนารวมใจ ตำบลสามเรือน อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ยังไม่มีการควบคุมกระบวนการผลิต แต่หลังจากการวิเคราะห์กระบวนการผลิตและควบคุมกระบวนการผลิตตามจุดวิกฤติควบคุมแล้ว ทำให้ผลิตภัณฑ์แปรรูปเห็ดตับเต่ามีคุณภาพเป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนกำหนด ทำให้ลดปริมาณความชื้นและเชื้อจุลินทรีย์ในผลิตภัณฑ์สุดท้าย ปริมาณจุลินทรีย์ทั้งหมดน้อยลงจากเดิม 5×103 เป็น 3.3×103 โคโลนีต่อตัวอยาง 1 กรัม และมีปริมาณความชื้นลดลงจากร้อยละ 9.83 เป็นร้อยละ 8.56 รวมทั้งไม่พบแบคทีเรีย Coliform, E. coli และ Staphylococcus aureus ในผลิตภัณฑ์สุดท้าย อีกทั้งมีการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ที่ใช้ในกระบวนการผลิต ปรับวิธีการบรรจุเป็นบรรจุในสภาวะสุญญากาศร่วมกับซองกันความชื้น นอกจากนี้คณะวิจัยยังมีการให้ความรู้ด้านสุขลักษณะและมาตรฐานอาหารปลอดภัยแก่กลุ่มแปรรูปพัฒนารวมใจโดยการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการอีกด้วย

Downloads

Published

2022-09-19

How to Cite

เหลียวตระกูล ว. ., เหลียวตระกูล ว. ., วงศ์แสงธรรม ว. ., & สุวรรณพันธ์ ส. . (2022). แนวทางการยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์อาหาร: กรณีศึกษา ผลิตภัณฑ์แปรรูปเห็ดตับเต่าของกลุ่มแปรรูปพัฒนารวมใจ ตำบลสามเรือน อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. Science, Technology, and Social Sciences Procedia, 2022(4), rspg031. Retrieved from https://wjst.wu.ac.th/index.php/stssp/article/view/25732