ทุนธรรมชาติ: กิจกรรมส่งเสริมการศึกษาเชิงสร้างสรรค์โดยใช้บริบทเป็นฐานในโรงเรียนขนาดเล็ก โรงเรียนบ้านย่าหมี เกาะยาวใหญ่ จังหวัดพังงา

Authors

  • สุชาดา คำหา สำนักวิชาการพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120
  • ปพิชญา เตียวกุล สำนักวิชาการพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120
  • สิรีพัชร โกยโภไคยสวรรค์ สำนักวิชาการพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120
  • รุ่งทิพย์ วงศเลอศักดิ์ สำนักวิชาการพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120
  • อรทัย สุราฤทธิ์ สำนักวิชาการพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120
  • นิธิ วติวุฒิพงศ์ บริษัทพลีอาดีส บางกอก แขวงท่าแร้ง เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร 10220

Keywords:

ทุนธรรมชาติ, กิจกรรมส่งเสริมการศึกษาเชิงสร้างสรรค์, โรงเรียนขนาดเล็ก, เกาะยาวใหญ่, Place-based learning

Abstract

จากการออกสำรวจ เก็บข้อมูล และทำการวิจัยบริเวณเกาะยาวใหญ่ จ. พังงา เพื่อสร้างฐานความรู้ด้านทรัพยากรธรรมชาติให้กับชุมชนนั้น นักวิจัยพบว่าในพื้นที่เกาะยาวใหญ่ยังมีปัญหาด้านการศึกษาที่ควรได้รับการแก้ไขโดยเฉพาะในโรงเรียนขนาดเล็ก ที่ขาดแคลนงบประมาณในการจัดหาสื่อการสอนและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาที่เอื้อให้เกิดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพตรงกับสาระการเรียนรู้ในแต่ละช่วงชั้น และปัญหาขาดแคลนครูโดยเฉพาะครูที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง บทความฉบับนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อชี้ให้เห็นถึงโอกาส แนวทาง ในการพัฒนารูปแบบ และกิจกรรมส่งเสริมการศึกษาอย่างสร้างสรรค์สำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก เพื่อสนับสนุนให้โรงเรียนเติบโตไปตามบริบทพื้นที่ บริบทชุมชน ได้อย่างมีคุณภาพ และนักเรียนโรงเรียนในพื้นที่ห่างไกลให้ได้รับโอกาสเข้าถึงการบริการด้านการศึกษาอย่างเท่าเทียม

จากการทดลองใช้ต้นแบบกิจกรรมส่งเสริมการศึกษาเชิงสร้างสรรค์ให้แก่นักเรียนโรงเรียนบ้านย่าหมี จำนวน 38 คน โดยใช้กิจกรรมต้นแบบ 2 กิจกรรม ได้แก่ 1) กิจกรรมจำแนกสัตว์ขาปล้องเบื้องต้น (กิจกรรมแมลงและพี่มากขา)  2) กิจกรรมนักสำรวจแมลง พบว่า ผู้เรียนร้อยละ 80 สามารถจัดจำแนกแยกแยะแมลงและแมงในเบื้องต้นได้ด้วยตัวเองจากการใช้สื่อการสอนการ์ดแมลง ผู้เรียนร้อยละ 85 สามารถแสดงออกถึงทักษะการคิดวิเคราะห์ การแก้โจทย์ปัญหา จากการเรียนและการลงมือปฏิบัติ โดยเฉพาะกับแมลงหรือแมงในกลุ่มที่ตนเองสนใจพิเศษ มากไปกว่านั้นยังพบว่าการเรียนโดยใช้บริบทเป็นฐาน ที่เชื่อมโยงเรื่องราวใกล้ตัวผู้เรียนเข้ากับสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ทำให้ผู้เรียนได้รับความสนุกสนาน เพลิดเพลิน มีความสุข มีความกระตือรือร้น รวมถึงเกิดความหวงแหนในทรัพยากรธรรมชาติในถิ่นฐานบ้านเกิดอีกด้วย ในส่วนของครูผู้สอนมีความพึงพอใจกับสื่อการสอนในระดับมากที่สุด เนื่องจากเป็นสื่อการสอนที่ใช้งานง่าย ไม่ซับซ้อน ตรงกับสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เหมาะสำหรับใช้ร่วมกับการเรียนการสอนแบบบูรณาการ และสามารถนำไปเป็นต้นแบบในการผลิตสื่อการสอนในหัวข้ออื่น ๆ ที่เชื่อมโยงกับบริบทพื้นที่ได้อีกด้วย

Downloads

Published

2022-09-19

How to Cite

คำหา ส., เตียวกุล ป. ., โกยโภไคยสวรรค์ ส. ., วงศเลอศักดิ์ ร. ., สุราฤทธิ์ อ. . ., & วติวุฒิพงศ์ น. . (2022). ทุนธรรมชาติ: กิจกรรมส่งเสริมการศึกษาเชิงสร้างสรรค์โดยใช้บริบทเป็นฐานในโรงเรียนขนาดเล็ก โรงเรียนบ้านย่าหมี เกาะยาวใหญ่ จังหวัดพังงา. Science, Technology, and Social Sciences Procedia, 2022(4), rspg030. Retrieved from https://wjst.wu.ac.th/index.php/stssp/article/view/25731