การใช้สารสกัดหยาบจากมะหาดรูปผงเพื่อยืดอายุการเก็บผลิตภัณฑ์แพตตี้หมู

Authors

  • กรรณิการ์ ห้วยแสน สาขาวิชาเทคโนโลยีการอาหาร คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ 46000
  • ชาญณรงค์ ชมนาวัง สาขาวิชาเทคโนโลยีการอาหาร คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ 46000
  • เกียรติพงษ์ เจริญจิตต์ สาขาวิชาเทคโนโลยีการอาหาร คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ 46000

Keywords:

มะหาด, แพตตี้หมู, อายุการเก็บ, สารกันหืน, ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ

Abstract

การศึกษาเกี่ยวกับการใช้สารสกัดหยาบเพื่อยืดอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์แพตตี้หมู มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบสารประกอบฟีนอลิกและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดหยาบจากแก่นมะหาดและใบมะหาด (รูปผง) และประเมินการเปลี่ยนแปลงคุณภาพทางกายภาพและเคมีของแพตตี้หมูระหว่างการเก็บ (0 15 30 45 และ 60 วัน) โดยมีปัจจัยการศึกษา 3 ปัจจัย ได้แก่ ชนิดของมะหาด ปริมาณสารสกัดมะหาดและระเวลาการเก็บ  ผลงานวิจัยแสดงให้เห็นว่าสารสกัดหยาบใบมะหาด (รูปผง) ให้ค่าสีด้านความสว่าง  ค่าความเป็นสีแดงถึงสีเขียว ปริมาณความชื้น ค่าวอเตอร์แอคติวิตี้ และปริมาณสารฟีนอลิกทั้งหมด สูงกว่าสารสกัดหยาบจากแก่นมะหาด แต่ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระโดยวิธี ABTS และการขจัดสาร ABTS  ของสารสกัดหยาบจากแก่นมะหาด สูงกว่าสารสกัดหยาบจากใบมะหาด  ผลการเติมสารสกัดหยาบจากใบมะหาดและแก่นมะหาดปริมาณต่างกันในผลิตภัณฑ์แพตตี้หมู โดยปริมาณสารสกัดหยาบเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์แพตตี้หมูมีค่าความสว่างและและค่าสีแท้จริงที่ปรากฏให้เห็น มีค่าลดลง แต่กลับส่งผลให้ค่าความเป็นสีแดงถึงสีเขียว ค่าความเป็นสีเหลืองถึงสีน้ำเงินและความเข้มของสี มีค่าเพิ่มขึ้น และระยะเวลาการเก็บผลิตภัณฑ์แพตตี้หมูนานขึ้น ปริมาณความชื้นและค่าพีเอชมีแนวโน้มลดลง  แต่ผลิตภัณฑ์แพตตี้หมู มีค่า Conjugated Dienes ค่า Conjugated Trienes และ ค่า Thiobarbituric Acid Reactive Substance  มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตลอดระยะเวลาการเก็บที่อุณหภูมิ –10 องศาเซลเซียส

 

Downloads

Published

2022-09-18

How to Cite

ห้วยแสน ก., ชมนาวัง ช., & เจริญจิตต์ เ. (2022). การใช้สารสกัดหยาบจากมะหาดรูปผงเพื่อยืดอายุการเก็บผลิตภัณฑ์แพตตี้หมู. Science, Technology, and Social Sciences Procedia, 2022(4), rspg029. Retrieved from https://wjst.wu.ac.th/index.php/stssp/article/view/25730