การสำรวจมะหาดภายในมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ พื้นที่ในเมือง

Authors

  • ภาวิณี ไชยรักษ์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ 46000

Keywords:

มะหาด, การสํารวจเก็บรวบรวมข้อมูล, การทำแผนผังพรรณไม้, แบบ ก 7 - 003

Abstract

การสํารวจเก็บข้อมูลและการทําพิกัดพรรณไม้มะหาด ภายในมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ พื้นที่ในเมือง มีจุดประสงค์เพื่อสนองพระราชดําริตามโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดําริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สนองพระราชดําริ โดยมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ (อพ.สธ. - มกส.) มีวัตถุประสงค์ คือ 1) สํารวจและเก็บรวบรวมข้อมูลต้นมะหาด ภายในมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ พื้นที่ในเมือง 2) ทําแผนผังพรรณไม้ของต้นมะหาด ที่สำรวจพบภายในมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ พื้นที่ในเมือง ซึ่งพื้นที่ที่ทำการสํารวจมีจำนวน 439 ไร่ 1 งาน 65.90 ตารางวา โดยในการสำรวจ ได้ทำการบันทึกขนาดเส้นรอบวงของต้นมะหาด ลักษณะวิสัย ความกว้างทรงพุ่ม ความสูงของต้น ลักษณะลำต้น เปลือกลำต้น ใบ ดอก ผล เมล็ด พร้อมทำพรรณไม้แห้ง พรรณไม้ดอง ทําพิกัดพรรณไม้ และกําหนดตําแหน่งลงบนแผนที่ โดยดําเนินการสํารวจระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2563 - 30 กันยายน 2564 ซึ่งผลการสำรวจพบว่า ภายในมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ พื้นที่ในเมือง พบต้นมะหาดทั้งสิ้นจำนวน 10 ต้น ความสูงของต้นมะหาด สูงตั้งแต่ 14 - 40 เมตร มีความกว้างทรงพุ่มตั้งแต่ 7 - 20 เมตร มีความกว้างของเส้นรอบวงของลำต้นตั้งแต่ 0.3 - 2.0 เมตร ใบมีขนาดความยาวตั้งแต่ 12 - 20 เซนติเมตร มีความกว้างตั้งแต่ 6 - 15 เซนติเมตร ผลมีขนาดความยาวตั้งแต่ 10 - 15 เซนติเมตร มีความกว้างตั้งแต่ 5 - 10 เซนติเมตร ลักษณะใบมีทั้ง ปลายใบแหลมโคนมนขอบเป็นคลื่น ใบปลายมนโคนมนขอบเป็นคลื่น ใบยาวปลายแหลมโคนมนขอบเป็นคลื่น ใบหนา ปลายใบมนโคนมนขอบเป็นคลื่น ลักษณะผลที่พบมีทั้งรูปร่างกลม รูปร่างรี และรูปร่างบิดเบี้ยว เนื้อในของผลมะหาดพบว่ามีสีชมพูเข้ม สีชมพูอ่อน และสีส้ม

            ซึ่งผลการสํารวจมะหาดภายในมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ พื้นที่ในเมือง และผลการจัดทําแผนผังของต้นมะหาด สามารถนําไปศึกษาลักษณะทางด้านภูมิศาสตร์ ภายในมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ พื้นที่ในเมืองได้ในอนาคตต่อไป

 

Downloads

Published

2022-09-16

How to Cite

ไชยรักษ์ ภ. . . (2022). การสำรวจมะหาดภายในมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ พื้นที่ในเมือง. Science, Technology, and Social Sciences Procedia, 2022(4), rspg026. Retrieved from https://wjst.wu.ac.th/index.php/stssp/article/view/25727