การกระจายตัวของโปร่งกิ่วและการนำไปใช้ประโยชน์ของชุมชนในเขตอีสานตอนล่าง: กรณีศึกษาจังหวัดสุรินทร์

Authors

  • สมชญา ศรีธรรม สาขาพืชศาสตร์ สิ่งทอ และการออกแบบ คณะเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ 32000
  • ปิยะวัฒน์ ศรีธรรม สาขาวิศวกรรมเครื่องกล คณะเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ 32000
  • วสา วงศ์สุขแสวง สาขาพืชศาสตร์ สิ่งทอ และการออกแบบ คณะเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ 32000
  • วันเพ็ญ ชลอเจริญยิ่ง สาขาพืชศาสตร์ สิ่งทอ และการออกแบบ คณะเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ 32000
  • อาทิตยา ดวงสุพรรณ์ สาขาพืชศาสตร์ สิ่งทอ และการออกแบบ คณะเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ 32000
  • ธนกฤต คำผง สาขาพืชศาสตร์ สิ่งทอ และการออกแบบ คณะเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ 32000

Keywords:

ชุมชนชาวไทยเขมรจังหวัดสุรินทร์, การใช้ประโยชน์ท้องถิ่น, การกระจายตัวของโปร่งกิ่ว, โปร่งกิ่ว

Abstract

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจการกระจายตัวของโปร่งกิ่ว (Dasymaschalon lomentaceum Finet & Gagnep.) ในป่าจังหวัดสุรินทร์ และศึกษาข้อมูลด้านการนำมาใช้ประโยชน์ของท้องถิ่นของชุมชนชาวไทยเขมรจังหวัดสุรินทร์ โดยวิธีการสำรวจป่าจำนวน 5 ป่า สัมภาษณ์ชุมชน 3 ตำบลในเขตอำเภอเมืองสุรินทร์ รวม 25 คน ผลการสำรวจพบโปร่งกิ่วในพื้นที่ป่าบุ่ง-ทาม ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง การกระจายตัวของโปร่งกิ่วส่วนใหญ่ขึ้นเป็นกลุ่มบริเวณชายป่าและเส้นทางเดินหรือพื้นที่โล่งในป่าที่มีแสงเข้าถึงมากและปานกลาง สภาพดินเป็นดินร่วนปนทรายหรือดินทราย ต้นโปร่งกิ่วส่วนใหญ่ขึ้นเป็นกลุ่ม เกิดจากการงอกของเมล็ด และการแตกต้นใหม่จากรากต้นแม่ การนำมาใช้ประโยชน์ในชุมชน พบ 4 ประเภท ได้แก่ อาหาร (ร้อยละ 100) สมุนไพร (ร้อยละ 60) เครื่องมือ-เครื่องใช้ (ร้อยละ 52) และความเชื่อ-พิธีกรรม (ร้อยละ 36) ตามลำดับ เมื่อวิเคราะห์ค่าดัชนีการใช้ประโยชน์ (Use value ; UV) ของโปร่งกิ่ว 4 ประเภท พบการใช้ประโยชน์ด้านอาหารมากที่สุด (1.00) รองลงมา คือ สมุนไพร (0.75) เครื่องมือ-เครื่องใช้ (0.65) และความเชื่อ-พิธีกรรม (0.45) พบการใช้ประโยชน์ตามภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีความเฉพาะของจังหวัดสุรินทร์ ได้แก่ ยาสมุนไพรสำหรับสตรีอยู่ไฟหลังคลอดบุตร การทำแป้งส่าเหล้าจากราก การจ่อรังไหมและทำค้างปลูกผักจากกิ่งก้าน และการนำใบโปร่งกิ่วมาประกอบพิธีกรรม “โจมครู” ซึ่งเป็นความเชื่อ-พิธีกรรมของชุมชนชาวไทยเขมรจังหวัดสุรินทร์

Downloads

Published

2022-09-15

How to Cite

ศรีธรรม ส., ศรีธรรม ป. ., วงศ์สุขแสวง ว. ., ชลอเจริญยิ่ง ว. ., ดวงสุพรรณ์ อ. ., & คำผง ธ. . (2022). การกระจายตัวของโปร่งกิ่วและการนำไปใช้ประโยชน์ของชุมชนในเขตอีสานตอนล่าง: กรณีศึกษาจังหวัดสุรินทร์. Science, Technology, and Social Sciences Procedia, 2022(4), rspg025. Retrieved from https://wjst.wu.ac.th/index.php/stssp/article/view/25718