ความหลากชนิดของไลเคนวงศ์กราฟิดาซิอิ (Graphidaceae) รอบพื้นที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดอุทัยธานี

Authors

  • วสันต์ เพิงสูงเนิน หน่วยวิจัยไลเคน ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร 10240
  • กวินนาถ บัวเรือง หน่วยวิจัยไลเคน ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร 10240
  • เวชศาสตร์ พลเยี่ยม หน่วยวิจัยไลเคน ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร 10240
  • พิมพา นิรงค์บุตร หน่วยวิจัยไลเคน ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร 10240
  • สัมฤทธิ์ เส็งเล็ก หน่วยวิจัยไลเคน ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร 10240
  • สุภัทรา โพธิ์แก้ว หน่วยวิจัยไลเคน ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร 10240
  • นพวรรณ คงทวี หน่วยวิจัยไลเคน ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร 10240
  • ขจรศักดิ์ วงศ์ชีวรัตน์ หน่วยวิจัยไลเคน ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร 10240

Keywords:

ความหลากหลายทางชีวภาพ, ป่าเต็งรัง, สัณฐานวิทยา, สาหร่าย, อ้อยช้าง

Abstract

ความหลากชนิดของไลเคนวงศ์กราฟิดาซิอิ (Graphidaceae) บริเวณโดยรอบพื้นที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดอุทัยธานี ได้ดำเนินการสำรวจและเก็บตัวอย่างไลเคนที่เกาะอาศัยบนต้นไม้จากป่าเต็งรัง ป่าปลูก ป่าดิบแล้ง และป่าเบญจพรรณ ในช่วงเดือนตุลาคม 2563 จากจำนวนทั้งหมด 52 ตัวอย่าง นำมาจัดจำแนกโดยการศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยา กายวิภาควิทยาและ สารทุติยภูมิที่สะสมในไลเคนด้วยวิธีหยดสี (spot test) และวิธีรงคเลขผิวบาง (Thin Layer Chromatography, TLC) จำแนกไลเคนได้ทั้งสิ้น 15 ชนิด ใน 6 สกุล ได้แก่ Diorygma, Dyplolabia, Glyphis, Graphis, Leucodecton และ Phaeographis โดยไลเคนสกุล Graphis มีความหลากชนิดสูงสุดที่ 10 ชนิด ในขณะที่สกุลอื่นๆ พบเพียงสกุลละ 1 ชนิด ป่าเต็งรังมีการแพร่กระจายของไลเคนสูงสุดที่ 10 ชนิด รองลงมาคือ ป่าดิบแล้ง ป่าปลูก และป่าเบญจพรรณ ป่าละ 4, 2 และ 2 ชนิด ตามลำดับ ไลเคนที่พบได้บ่อย (common species) คือ Graphis tenuirima และ Graphis koratensis ในขณะที่ Dyplolabia afzelii, Glyphis scyphulifera, Graphis caesiella, Graphis furcata, Graphis lineola, Graphis nanodes และ Leucodecton occultum พบเพียงชนิดละ 1 ตัวอย่างเท่านั้น ต้นอ้อยช้าง (Lannea coromandelica) เป็นพืชที่มีไลเคนเกาะอาศัยสูงสุดถึง 6 ชนิด รองลงมาคือชิงชัน (Dalbergia oliveri) และกระพี้จั่น (Millettia brandisiana) อย่างละ 3 ชนิด ไลเคนจำนวน 13 จาก 15 ชนิดที่ค้นพบเป็นการรายงานครั้งแรกของจังหวัดอุทัยธานี

Downloads

Published

2022-09-15

How to Cite

เพิงสูงเนิน ว. ., บัวเรือง ก. ., พลเยี่ยม เ. ., นิรงค์บุตร พ. ., เส็งเล็ก ส. ., โพธิ์แก้ว ส. ., คงทวี น. . ., & วงศ์ชีวรัตน์ ข. . (2022). ความหลากชนิดของไลเคนวงศ์กราฟิดาซิอิ (Graphidaceae) รอบพื้นที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดอุทัยธานี. Science, Technology, and Social Sciences Procedia, 2022(4), rspg077. Retrieved from https://wjst.wu.ac.th/index.php/stssp/article/view/25715