การกักเก็บคาร์บอน ในบริเวณพื้นที่สวนชาเมี่ยง ตําบลเรือง อําเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน

Authors

  • ปวีณา ไกรวิจิตร ภาควิชาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก 65000
  • เสวียน เปรมประสิทธิ์ ภาควิชาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก 65000

Keywords:

อพ.สธ., มวลชีวภาพ, การกักเก็บคาร์บอน

Abstract

การกักเก็บคาร์บอนในบริเวณพื้นที่สวนชาเมี่ยง ตำบลเรือง อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปริมาณการกักเก็บคาร์บอนในมวลชีวภาพเหนือพื้นดินและใต้ดิน ในบริเวณพื้นที่สวนชาเมี่ยงตำบลเรือง อำเภอเมือง จังหวัดน่าน โดยวางแปลงสำรวจขนาด              100 x 100 ตารางเมตร สำหรับศึกษาข้อมูลต้นไม้ที่มีเส้นรอบวงตั้งแต่ 10 เซนติเมตรขึ้นไป ที่ระดับ 1.30 เมตร (GBH) และใช้ Haga altimeter ในการวัดความสูงของต้นไม้ จัดทำบัญชีรายชื่อพันธุ์ไม้ ชื่อวงศ์ ชื่อวิทยาศาสตร์ และจำนวนชนิดของพืช นำมาวิเคราะห์หาข้อมูลมวลชีวภาพของต้นไม้ โดยใช้สมการแอลโลเมตรีของ Yamakura et al. (1986) และวิเคราะห์มวลชีวภาพใต้ดิน ใช้สมการของ Cairns et al. (1997) คำนวณหาการกักเก็บคาร์บอนใช้สมการ Intergovernmental Panel on Climate Change (IPCC, 2006) ผลการศึกษา พบว่า พันธุ์ไม้ที่พบมีจำนวนทั้งหมด 23 ชนิด 20 วงศ์ มีปริมาณมวลชีวภาพรวม เท่ากับ 375,027.95 กิโลกรัมต่อเฮกตาร์ พบปริมาณมวลชีวภาพมากที่สุดในส่วนของลำต้น เท่ากับ 298,309.46 กิโลกรัมต่อเฮกตาร์ รองลงมาส่วนของกิ่งเท่ากับ 55,282.08 กิโลกรัมต่อเฮกตาร์ ส่วนของราก เท่ากับ 15,081.68 กิโลกรัมต่อเฮกตาร์ และส่วนของใบ เท่ากับ 6,354.74 กิโลกรัมต่อเฮกตาร์ ส่วนของปริมาณคาร์บอนของต้นไม้ พบว่า มีปริมาณคาร์บอนรวมเท่ากับ 176,263.14 กิโลกรัมต่อเฮกตาร์ พบมากที่สุดในส่วนของลำต้น เท่ากับ 140,205.44 กิโลกรัมต่อเฮกตาร์ รองลงมาส่วนของกิ่ง เท่ากับ 25,982.58 กิโลกรัมต่อเฮกตาร์ ส่วนของราก เท่ากับ 7,088.39 กิโลกรัมต่อเฮกตาร์ และส่วนของใบ เท่ากับ 2,986.73 กิโลกรัมต่อเฮกตาร์

Downloads

Published

2022-09-15

How to Cite

ไกรวิจิตร ป. ., & เปรมประสิทธิ์ เ. (2022). การกักเก็บคาร์บอน ในบริเวณพื้นที่สวนชาเมี่ยง ตําบลเรือง อําเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน. Science, Technology, and Social Sciences Procedia, 2022(4), rspg021. Retrieved from https://wjst.wu.ac.th/index.php/stssp/article/view/25713