การคัดเลือกราทะเลจากแนวปะการังที่มีการสะสมไขมัน เพื่อพัฒนาศักยภาพนำไปผลิตไบโอดีเซล

Authors

  • กนกกร หลงมัจฉา หน่วยวิจัยจุลชีพในสิ่งแวดล้อมทางทะเล สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร 10240
  • วรวุฒิ ไชยแสง หน่วยวิจัยจุลชีพในสิ่งแวดล้อมทางทะเล สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร 10240
  • กลิ่นผกา ภูถาวร หน่วยวิจัยจุลชีพในสิ่งแวดล้อมทางทะเล สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร 10240
  • มาฆมาส สุทธาชีพ กลุ่มวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพในทะเล ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร 10240
  • ธรรมศักดิ์ ยีมิน กลุ่มวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพในทะเล ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร 10240
  • จำเริญ บัวเรือง หน่วยวิจัยจุลชีพในสิ่งแวดล้อมทางทะเล สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร 10240

Keywords:

แนวปะการัง, ราทะเล, เชื้อราไขมันสูง, ไบโอดีเซล

Abstract

การใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นแหล่งพลังงานหลักในหลายประเทศรวมถึงประเทศไทยก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในเชิงลบ ไบโอดีเซลเป็นทางเลือกหนึ่งที่เข้ามาแก้ปัญหาดังกล่าวได้ แต่ไบโอดีเซลจากพืชเป็นวัตถุดิบที่สามารถนำไปประกอบอาหารได้ จึงส่งผลให้ราคาน้ำมันพืชแพงขึ้น ราทะเลจึงเป็นวัตถุดิบทางเลือกหนึ่งที่สามารถนำไปผลิตไบโอดีเซลได้ เนื่องจากสามารถสังเคราะห์และสะสมกรดไขมันไว้ในรูปแบบของไตรกลีเซอไรด์ได้ซึ่งมีลักษณะคล้ายน้ำมันพืช อย่างไรก็ตามราทะเลไม่สามารถสะสมไขมันได้ทุกชนิด ในงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อคัดเลือกราทะเลชนิดที่มีศักยภาพในการสะสมไขมันที่แยกได้จากตัวอย่างสิ่งมีชีวิตในแนวปะการัง โดยการเก็บตัวอย่างสิ่งมีชีวิตด้วยการดำน้ำแบบ SCUBA และนำตัวอย่างมาแยกเชื้อราในห้องปฏิบัติการด้วยวิธี Tissue Transplanting จำแนกชนิดของราทะเลด้วยลักษณะทางสัณฐานวิทยา จากนั้นคัดเลือกราทะเลที่การสะสมไขมันด้วยวิธีการคัดเลือกเชิงคุณภาพโดยใช้สีย้อม Sudan Black B หากเซลล์ไขมันในเส้นใยราทะเลติดสีย้อมจะมีลักษณะเป็นสีน้ำเงินออกดำ และวิธีการคัดเลือกเชิงปริมาณด้วยการสกัดไขมันจากราทะเล โดยใช้คลอโรฟอร์มและเมทานอลในอัตราส่วน 2:1 ปริมาตรต่อปริมาตร ผลการแยกราทะเลจากตัวอย่างสิ่งมีชีวิตทั้งหมด 14 ตัวอย่าง แบ่งเป็นฟองน้ำ 10 ตัวอย่าง และสาหร่าย 4 ตัวอย่าง ซึ่งแยกราทะเลได้ทั้งหมด 48 สายพันธุ์ โดยพบจำนวนสายพันธุ์ราทะเลจากฟองน้ำ Haliclona sp. สูงที่สุด 9 สายพันธุ์ และจากการจำแนกด้วยลักษณะทางสัณฐานวิทยาสามารถแบ่งราทะเลได้ 8 สกุล คือ Alternaria sp., Aspergillus flavus, Aspergillus fumigatus, Aspergillus spp., Penicillium spp., Syncephalastrum racemosum, Trichoderma spp. และกลุ่ม Sterile mycelium โดยพบ Aspergillus spp. เป็นราทะเลสกุลเด่น จากการคัดเลือกราทะเลสะสมไขมันด้วยวิธีเชิงคุณภาพพบราทะเล 34 สายพันธุ์ แสดงให้เห็นการติดสีของเซลล์ไขมันภายในเส้นใยราทะเล และจากการคัดเลือกด้วยวิธีเชิงปริมาณพบราทะเล Aspergillus sp.5-5 ที่แยกได้จากฟองน้ำ Haliclona sp. มีปริมาณไขมันทั้งหมดต่อน้ำหนักชีวมวลแห้งของราทะเลสูงที่สุดคือ 20.90 ± 1.71 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ว่าเป็นเชื้อราไขมันสูง (Oleaginous Fungi) ที่มีศักยภาพในการนำไปพัฒนาต่อยอด เพื่อผลิตเป็นเชื้อเพลิงไบโอดีเซลที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ในอนาคต

Downloads

Published

2022-09-15

How to Cite

หลงมัจฉา ก. ., ไชยแสง ว. ., ภูถาวร ก. ., สุทธาชีพ ม. ., ยีมิน ธ. ., & บัวเรือง จ. . (2022). การคัดเลือกราทะเลจากแนวปะการังที่มีการสะสมไขมัน เพื่อพัฒนาศักยภาพนำไปผลิตไบโอดีเซล. Science, Technology, and Social Sciences Procedia, 2022(4), rspg082. Retrieved from https://wjst.wu.ac.th/index.php/stssp/article/view/25710