การศึกษาความหลากหลายของเฉดสีย้อมผ้าไหมที่สกัดจากไลเคนเขตร้อนบางชนิด

Authors

  • ศิริพร จันทร์ปาน หน่วยวิจัยไลเคน ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร 10240
  • วิธิดา วิเศษสุวรรณ หน่วยวิจัยไลเคน ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร 10240
  • กวินนาถ บัวเรือง หน่วยวิจัยไลเคน ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร 10240
  • เวชศาสตร์ พลเยี่ยม หน่วยวิจัยไลเคน ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร 10240

Keywords:

ไลเคนเขตร้อน, สีย้อมผ้าไหม, หัตถกรรมพื้นบ้าน, ออร์ชิล

Abstract

ไลเคนเป็นทรัพยากรชีวภาพที่ได้รับความสนใจน้อยแต่มีศักยภาพในการนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างกว้างขวาง รวมทั้งนำมาใช้เป็นสีย้อมผ้าไหมที่ทรงคุณค่าต่อการอนุรักษ์ภูมิปัญญาของชาติไทย การศึกษานี้เป็นการค้นหาสีย้อมผ้าไหมเฉดสีต่างๆ ที่สกัดจากไลเคน 10 ชนิด เพื่อนำมาพัฒนาปรับใช้กับงานหัตถกรรมผ้าไหมพื้นบ้านของไทย โดยไลเคนที่เลือกประกอบด้วย Heterodermia lepidota, Hypotrachyna nepalensis, Parmotrema maclayanum, Pa. poolii, Pa. reticulatum, Pa. tinctorum, Pyxine consocians, Py. copelandii, Ramalina sp. และ Usnea sp. ทำการสกัดสีย้อมด้วยวิธีการหมักด้วยแอมโมเนีย ความเข้มข้น 5 เปอร์เซ็นต์ (v/v) เป็นเวลา 30 วัน น้ำสีย้อมที่ได้มีค่า pH ระหว่าง 9.4 - 9.9 สีย้อมมีเฉดสีหลากหลายตั้งแต่สีเหลือง-ชมพู-น้ำตาล-ม่วง โดยมีค่าเฉดสีแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับชนิดของไลเคน (ค่า L* ระหว่าง 4.6 - 88, ค่า a* ระหว่าง −0.7 - 38, ค่า b* ระหว่าง 1.6 - 71.7) เมื่อนำสีย้อมที่ได้มาย้อมผ้าไหมโดยวิธีการย้อมร้อนสามารถติดสีบนผ้าไหมได้ โดยมีไลเคน 2 ชนิด คือ Pa. poolii และ Pa. tinctorum ที่ให้สีเข้มในเฉดสีม่วง-แดง (ออร์ชิล) ส่วนไลเคนชนิดอื่นๆ ให้สีออกน้ำตาลอมชมพูอ่อนๆ แสดงให้เห็นว่าไลเคนทุกชนิดที่ศึกษามีศักยภาพในการนำมาย้อมผ้าไหมได้ การพัฒนาสีย้อมจากไลเคนเพื่อนำมาใช้เป็นสีย้อมผ้าไหมจะเป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจเพื่อแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของทรัพยากรชีวภาพของประเทศที่สามารถเพิ่มมูลค่างานหัตถกรรมพื้นบ้านของไทยได้

Downloads

Published

2022-09-14

How to Cite

จันทร์ปาน ศ. ., วิเศษสุวรรณ ว. ., บัวเรือง ก. . ., & พลเยี่ยม เ. . (2022). การศึกษาความหลากหลายของเฉดสีย้อมผ้าไหมที่สกัดจากไลเคนเขตร้อนบางชนิด. Science, Technology, and Social Sciences Procedia, 2022(4), rspg086. Retrieved from https://wjst.wu.ac.th/index.php/stssp/article/view/25706