ความหลากหลายทางชีวภาพของมันป่าทรัพยากรไทยสู่ความมั่นคงทางอาหาร

Authors

  • พุทธพงษ์ สร้อยเพชรเกษม คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก 65000
  • เชิดศักดิ์ ทัพใหญ่ คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก 65000
  • พีระศักดิ์ ฉายประสาท คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก 65000

Keywords:

ความหลากหลายทางชีวภาพ, มันป่า, ความมั่นคงทางอาหาร

Abstract

การศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพของมันป่าหรือพืชวงศ์กลอย (Dioscoreaceae) ในเขตภาคเหนือตอนล่าง ทำการสำรวจจำแนกชนิดของมันป่า โดยพบ 13 ชนิด ได้แก่ กลอย (D. hispida Dennst.) มันกะทาด (D. wallichii Hook.f.)  กลิ้งกลางดง (D. bulbifera L.) มันดง (D. glabra Roxb.) มันแดงดง (D. brevipetiolata Prain & Burkill) มันเทียน (D. filiformis Blume) มันแซง (D. oryzetorum Prain & Burkill) มันเลือด (D. alata L.) ยั้ง (D. birmanica Prain & Burkill) มันหนอน (D. arachidna Prain & Burkill) มันหนอนใบเกลี้ยง (D. craibiana Prain & Burkill) มันมือเสือ (D. esculenta (Lour.) Burkill) และมันคันขาว (D. pentaphylla L.) มีการกระจายพันธุ์ตั้งแต่พื้นที่ราบไปถึงพื้นที่ความสูงที่ระดับ 1,600 เมตรจากระดับน้ำทะเล มีการใช้ประโยชน์จาก 7 ชนิด โดยแบ่งเป็นการใช้ประโยชน์ทางอาหาร 5 ชนิด ได้แก่ กลอย มันเลือด มันแซง มันมือเสือ และมันคันขาว และมีการใช้ประโยชน์ทางเภสัชกรรม 2 ชนิด ได้แก่ กลิ้งกลางดงและยั้ง มันป่าส่วนใหญ่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง สำหรับมันป่าที่มีหัวขนาดใหญ่ เช่น มันเลือด มันพร้าว ใช้ทำอาหารคาวและของหวาน โดยบวดหรือนึ่งกับแป้งข้าวเจ้า อีกชนิดคือ กลอย นิยมใช้ผสมในขนมหรือใช้เป็นแป้งทำอาหาร สำหรับมันป่าชนิดที่มีหัวขนาดเล็ก เช่น มันมือเสือ มันแซง นิยมใส่ในแกงเลียงและนึ่งใส่น้ำตาลเป็นของหวาน และมันคันขาวใช้หัวอากาศมาบริโภค ในส่วนของมันป่าชนิดที่น่าสนใจ ได้แก่ มันแซง หัวทรงกลม เนื้อสีขาว ลำต้นไม่มีหนาม สามารถทยอยเก็บเกี่ยวได้ ทนต่อน้ำท่วมระยะสั้น ปลูกและดูแลรักษาง่าย แมลงศัตรูพืชมีน้อย เริ่มมีการนำมาปลูกในระบบเกษตรกรรม ในส่วนของกลอยนิยมใช้บริโภคแต่มีสารพิษในหัวต้องผ่านกระบวนการล้างสารพิษให้สะอาดก่อน จึงนำไปบริโภคได้ ซึ่งกลอยและมันมือเสือบางพันธุ์ที่มีหนามแหลมจะปลูกไว้ห่างจากที่อยู่อาศัย หรือป่าชุมชน หรือในสภาพธรรมชาติ พืชสกุลมันป่าเป็นพืชที่ควรอนุรักษ์ ส่งเสริมความรู้การใช้ประโยชน์ เป็นวิธีการหนึ่งที่จะช่วยสร้างความมั่นคงทางอาหารบนฐานความหลากหลายทางชีวภาพเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในประเทศไทยได้อย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต

Downloads

Published

2022-09-14

How to Cite

สร้อยเพชรเกษม พ., ทัพใหญ่ เ. ., & ฉายประสาท พ. . (2022). ความหลากหลายทางชีวภาพของมันป่าทรัพยากรไทยสู่ความมั่นคงทางอาหาร. Science, Technology, and Social Sciences Procedia, 2022(4), rspg015. Retrieved from https://wjst.wu.ac.th/index.php/stssp/article/view/25705