ผลของอาหารเลี้ยงเชื้อจากข้าวต่อปริมาณสารฟีนอลิกและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ของสารสกัดจากราก่อให้เกิดไลเคน Ocellularia sp. NKP156

Authors

  • ภัครพล พูลสุขโข หน่วยวิจัยไลเคน ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง บางกะปิ กรุงเทพมหานคร 10240
  • เกศแก้ว พูลรักษา หน่วยวิจัยไลเคน ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง บางกะปิ กรุงเทพมหานคร 10240
  • วชิรชัย พบูประภาพ ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ บางกะปิ มหาวิทยาลัยรามคำแหง กรุงเทพมหานคร 10240
  • ธีรภัทร เหลืองศุภบูลย์ สำนักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพที่ กรมวิชาการเกษตร อำเภอคลองหลวง ปทุมธานี 12110
  • เอก แสงวิเชียร หน่วยวิจัยไลเคน ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง บางกะปิ กรุงเทพมหานคร 10240

Keywords:

ไลเคน, ราก่อให้เกิดไลเคน, ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ, ปริมาณสารฟีนอลิกรวม

Abstract

การศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและปริมาณสารฟีนอลิกรวมของราก่อให้เกิดไลเคน Ocellularia sp. NKP156 จากสารสกัดที่เลี้ยงด้วยอาหารเลี้ยงเชื้อที่ทำจากข้าวชนิดต่างๆ โดยทำการแยกสปอร์ของราก่อให้เกิดไลเคน เลี้ยงในอาหารเลี้ยงเชื้อจนโคโลนีพัฒนาและสร้างสารทุติยภูมิเป็นเวลา 12 สัปดาห์ แล้วนำมาสกัดสารด้วยตัวทำละลายเอทิลอะซิเตท ทำให้สารสกัดแห้งด้วยเครื่อง rotary evaporator นำสารสกัดที่ได้ไปทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH assay และหาปริมาณสารฟีนอลิกรวมด้วยวิธี Folin-Ciocalteu assay พบว่า สารสกัดจากราก่อให้เกิดไลเคน Ocellularia sp. NKP156 ที่เลี้ยงด้วยอาหารเลี้ยงเชื้อชนิด MYA มีค่าการยับยั้งอนุมูลอิสระที่ EC50 ดีที่สุดคือ 0.41 มิลลิกรัม BHT/mL รองลงมาคือ สารสกัดจากอาหารเลี้ยงเชื้อชนิดข้าวสาลีและข้าวหอมมะลิ มีค่าการยับยั้งอนุมูลอิสระที่ EC50 คือ 0.55 และ 0.64 มิลลิกรัม BHT/mL ตามลำดับ ในขณะที่ปริมาณสารฟีนอลิกรวมพบมากสุดในสารสกัดที่ได้จากการเลี้ยงด้วยอาหารชนิดข้าวสาลี มีปริมาณสารฟีนอลิกรวม คือ 0.234 มิลลิกรัม GAE/mg extract รองลงมาคือ สารสกัดที่ได้จากการเลี้ยงด้วยอาหารชนิดข้าวหอมมะลิและ MYA มีปริมาณสารฟีนอลิกรวม คือ 0.211 และ 0.188 mg GAE/mg extract ตามลำดับ และพบว่าอาหารเลี้ยงเชื้อชนิดข้าวบาร์เลย์ทำให้สารสกัดจากราก่อให้เกิดไลเคน Ocellularia sp. NKP156 ไม่มีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ (EC50 > 1 มิลลิกรัม BHT/ml) ซึ่งสอดคล้องกับปริมาณสารฟีนอลิกรวมที่วัดได้น้อย (0.086 มิลลิกรัม GAE/mg extract) ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าชนิดของข้าวที่นำมาทำเป็นอาหารเลี้ยงเชื้อมีผลต่อการสร้างสารต้านอนุมูลอิสระและปริมาณสารฟีนอลิกรวม ซึ่งมีศักยภาพที่ที่จะนำมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้นได้

Downloads

Published

2022-09-14

How to Cite

พูลสุขโข ภ. ., พูลรักษา เ. ., พบูประภาพ ว. ., เหลืองศุภบูลย์ ธ. ., & แสงวิเชียร เ. . (2022). ผลของอาหารเลี้ยงเชื้อจากข้าวต่อปริมาณสารฟีนอลิกและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ของสารสกัดจากราก่อให้เกิดไลเคน Ocellularia sp. NKP156. Science, Technology, and Social Sciences Procedia, 2022(4), rspg089. Retrieved from https://wjst.wu.ac.th/index.php/stssp/article/view/25703