การศึกษาแนวทางการพัฒนาโลชันกันยุงที่มีส่วนผสมจากใบสาบเสือ

Authors

  • พนิดา แสนประกอบ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร 10220
  • สกุลทิพย์ จันทร์หอม สาขาวิชาวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร 10220
  • รัชดาภรณ์ มั่นคง สาขาวิชาวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร 10220
  • เกศศิรินทร์ แสงมณี สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร 10220

Keywords:

สาบเสือ, แทนนิน, โลชัน, ยุง, เครื่องสำอาง

Abstract

สาบเสือ เป็นวัชพืชที่ขึ้นได้ทั่วไป มีกลิ่นเฉพาะตัว มีฤทธิ์ทางชีวภาพหลากหลาย สามารถไล่แมลงและยุงที่เป็นพาหะนำโรคต่าง ๆ ได้ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการนำสกัดสารและน้ำมันหอมระเหยจากใบสาบเสือมาพัฒนาเป็นสารออกฤทธิ์ในโลชันกันยุง โดยนำส่วนของใบเสือสาบมากลั่นด้วยไอน้ำและนำใบสาบเสือมาสกัดด้วยวิธีการแช่หมัก ได้ผลผลิตร้อยละของสารสกัดเท่ากับ 13.18 เปอร์เซ็นต์ (w/w) และผลิตของน้ำกลั่นเท่ากับ 36.8 เปอร์เซ็นต์ (v/v) ตามลำดับ นอกจากนี้ยังได้นำสารสกัดใบสาบเสือมาวิเคราะห์ปริมาณสารแทนนินด้วยวิธี Tannin assay พบว่าสารสกัดใบสาบเสือมีปริมาณแทนนิน ร้อยละ 5.79 เปอร์เซ็นต์ จากนั้นนำน้ำกลั่นและสารสกัดไปใช้เป็นส่วนผสมในตำรับโลชันกันยุง อัตราส่วนที่เหมาะสมในการผลิตโลชัน 100 กรัม ของน้ำกลั่นเท่ากับ 30 เปอร์เซ็นต์ และสารสกัด 0.005  เปอร์เซ็นต์ จากนั้นผลิตภัณฑ์โลชันกันยุงไปวิเคราะห์ลักษณะทางกายภาพพบว่า ผลิตภัณฑ์มีค่าความเป็นกรดด่างเท่ากับ 5.35±0.18 ความชุ่มชื้นเท่ากับ 19.36±3.21 เมื่อทดสอบในสภาวะเร่งไม่พบการตกตะกอนในเนื้อผลิตภัณฑ์ ดังนั้นการนำสารสกัดใบสาบเสือมาใช้เป็นวัตถุดิบส่วนผสมในโลชันกันยุงจึงมีความเป็นไปได้ในการตำรับสูตร นอกจากจะเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับวัชพืชแล้วยังเป็นการลดการใช้สารสังเคราะห์อีกด้วย

Downloads

Published

2022-09-14

How to Cite

แสนประกอบ พ. ., จันทร์หอม ส. ., มั่นคง ร. ., & แสงมณี เ. . (2022). การศึกษาแนวทางการพัฒนาโลชันกันยุงที่มีส่วนผสมจากใบสาบเสือ. Science, Technology, and Social Sciences Procedia, 2022(4), rspg092. Retrieved from https://wjst.wu.ac.th/index.php/stssp/article/view/25700