ความหลากหลายของเฟิร์นบริเวณเกาะยาวน้อยและเกาะยาวใหญ่ จังหวัดพังงา

Authors

  • พุทธมน ผ่องกาย กองวิชการพฤกษศาสตร์ สำนักวิชาการพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120
  • วีณัสษา เอกจำนง กองวิชการพฤกษศาสตร์ สำนักวิชาการพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120
  • พิชญ์สินี มีธง กองวิชการพฤกษศาสตร์ สำนักวิชาการพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120

Keywords:

ประเทศไทย, เกาะยาว, เฟิร์น, ความหลากหลายทางชีวภาพ

Abstract

การศึกษาความหลากหลายของเฟิร์นบริเวณเกาะยาวน้อยและเกาะยาวใหญ่ อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา ระหว่างวันที่ 3-11 เมษายน 2564 โดยการสำรวจและเก็บตัวอย่างมาศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยาเชิงปริมาณและลักษณะเชิงคุณภาพ พบเฟิร์นจำนวน 32 ชนิด จาก 26 สกุล 18 วงศ์ ซึ่งวงศ์ที่พบมากที่สุด คือ Polypodiaceae พบถึง 6 ชนิด ใน 5 สกุล เฟิร์นที่พบเป็นชนิดเด่นและพบบ่อยในพื้นที่ศึกษา ได้แก่ Dicranopteris linearis (Burm. f.) Underw., Lindsaea ensifolia Sw., Lycopodiella cernua (L.) Pic. Serm., Taenitis blechnoides (Willd.) Sw., Pyrrosia adnascens (Sw.) Ching และ Lygodium microphyllum (Cav.) R. Br. เฟิร์นที่พบเจอได้ยากและมักจะกระจายพันธุ์อยู่ในป่าชายหาดและป่าชายเลน คือ ตาลมังกร (Myrmecophila sinuosa (Hook.) Nakai ex H. Itô) และตาลทราย (Schizaea digitata (L.) Sw.) เฟิร์นที่พบแต่ละชนิดนั้นสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างหลากหลาย ได้แก่ นำมาเป็นอาหาร นำไปใช้ทำเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน มีสรรพคุณในการรักษาโรค รวมทั้งเป็นไม้ประดับ

Downloads

Published

2022-09-14

How to Cite

ผ่องกาย พ. ., เอกจำนง ว., & มีธง พ. (2022). ความหลากหลายของเฟิร์นบริเวณเกาะยาวน้อยและเกาะยาวใหญ่ จังหวัดพังงา. Science, Technology, and Social Sciences Procedia, 2022(4), rspg009. Retrieved from https://wjst.wu.ac.th/index.php/stssp/article/view/25699