พฤกษศาสตร์ของต้นรวงผึ้งและการใช้ประโยชน์ในงานภูมิทัศน์

Authors

  • เยาวนิตย์ ธาราฉาย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อำเภอสันทราย เชียงใหม่ 50290
  • ทิพย์สุดา ตั้งตระกูล คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อำเภอสันทราย เชียงใหม่ 50290
  • วิภาวี นิละปะกะ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อำเภอสันทราย เชียงใหม่ 50290

Keywords:

ต้นรวงผึ้ง, การสำรวจ, กายวิภาคของใบ, พรรณไม้ในงานภูมิทัศน์

Abstract

การสำรวจ รวบรวมพันธุ์และศึกษาลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของต้นรวงผึ้ง (Schoutenia glomerata King subsp. peregrina (Craib) Roekm.) ทำการเก็บตัวอย่างต้นรวงผึ้งในพื้นที่ 5 จังหวัดเหนือได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย แพร่ ลำปาง และลำพูน ระหว่างเดือนมีนาคม 2564 ถึงเดือนกันยายน 2564 จากการสำรวจพบว่าต้นรวงผึ้งที่พบเป็นต้นที่ปลูกขึ้นใหม่ในสถานที่ราชการ สถานศึกษาและวัด ในระดับความสูงประมาณ 350-600 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล แต่ละต้นออกดอกในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน คือเริ่มตั้งแต่สัปดาห์ที่สองของเดือนสิงหาคมถึงต้นเดือนกันยายน 2564 ช่วงเวลาดอกบานประมาณ 7-10 วัน ในช่วงออกดอกไม่มีการผลัดใบ ต้นรวงผึ้งกลุ่มใหญ่ที่พบคือในพื้นที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีอายุมากกว่า 30 ปีและความสูงเฉลี่ยมากกว่า 9 เมตร ในการศึกษาสัณฐานและกายวิภาคของต้นรวงผึ้งพบว่าตามกิ่งก้าน ใบและดอกของรวงผึ้งมีขนสีน้ำตาลหนาแน่นปกคลุม ลักษณะขนเป็นรูปดาว การศึกษากายภาคโครงสร้างใบมีชั้นเอพิเดอร์มิสทั้งสองด้านของแผ่นใบ มีคิวติเคิลเคลือบ มีคลอโรฟิลด์จำนวนมากและมีเซลล์สเคลอเรนไคมาที่ช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับใบ พบเซลล์ปากใบเฉพาะด้านท้องใบ เมื่อนำลักษณะพฤกษศาสตร์ การออกดอก และโครงสร้างใบมาประเมินการใช้ประโยชน์ในงานภูมิทัศน์พบว่า  ความเหมาะสมในการใช้เป็นไม้ปิดกั้นและกรองฝุ่นละออง มีค่าคะแนนเท่ากับ 260 คะแนนอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด การเป็นไม้สร้างจุดเด่น มีค่าคะแนนเท่ากับ 200 คะแนน มีค่าความเหมาะสมมาก และการเป็นไม้เอื้อต่อความหลากหลายทางชีวภาพ มีค่าคะแนนเท่ากับ 150 คะแนน มีความเหมาะสมปานกลาง

Downloads

Published

2022-09-14

How to Cite

ธาราฉาย เ. ., ตั้งตระกูล ท. ., & นิละปะกะ ว. . (2022). พฤกษศาสตร์ของต้นรวงผึ้งและการใช้ประโยชน์ในงานภูมิทัศน์. Science, Technology, and Social Sciences Procedia, 2022(4), rspg094. Retrieved from https://wjst.wu.ac.th/index.php/stssp/article/view/25698