การสำรวจชนิดปลาทะเลที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจบริเวณแนวปะการังน้ำตื้น (หินละแม) มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร

Authors

  • วีรชัย เพชรสุทธิ์ คณะมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อำเภอละแม จังหวัดชุมพร 86170
  • ชาญวิทย์ ขุนทองจันทร์ คณะมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อำเภอละแม จังหวัดชุมพร 86170

Keywords:

ปลาแนวปะการัง, หินละแม, มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร

Abstract

การสำรวจชนิดปลาทะเลที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจบริเวณแนวปะการังน้ำตื้น (หินละแม) ด้านหน้ามหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ห่างจากชายฝั่ง 1.5 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่แนวปะการัง 107 ไร่ อยู่นอกเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะชุมพร มีวัตถุประสงค์เพื่อสนองพระราชดำริภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และเพื่อสำรวจรวบรวมความหลากหลายของชนิดปลาทะเล ระหว่างเดือนกรกฎาคม ถึงสิงหาคม 2563 โดยวิธี Visual Census Technique (English et al., 1997) บนแนวสำรวจใต้น้ำแบบ belt transect พบปลา 17 ครอบครัว 26 สกุล 35 ชนิด ปลาที่เป็นชนิดเด่นคือ ปลาสลิดหินแขก (Siganus javus) ปลาสลิดหินบั้งหางมน (Abudefduf bengalensis) ปลาสลิดหิน (Chromis weberi) ปลาทรายหลังขาว (Scolopsis ciliate) ปลากระรอกแดง (Sargocentron rubrum) ปลาข้าวเม่าน้ำลึก (Myripristis hexagona) ส่วนปลาที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจคือ ปลากะรัง (Cephalopholis boenak) ปลากะรังดอกแดง (Epinephelus coioides) ปลากะรังท้องกำปั่น (Cephalopholis formosa) และปลากะพงข้างปาน (Lutjanus russellii)

Downloads

Published

2022-09-14

How to Cite

เพชรสุทธิ์ ว. ., & ขุนทองจันทร์ ช. . (2022). การสำรวจชนิดปลาทะเลที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจบริเวณแนวปะการังน้ำตื้น (หินละแม) มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร. Science, Technology, and Social Sciences Procedia, 2022(4), rspg095. Retrieved from https://wjst.wu.ac.th/index.php/stssp/article/view/25697