การประเมินมวลชีวภาพและการกักเก็บคาร์บอนของต้นไม้ ในพื้นที่ศูนย์อนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ อพ.สธ.-คลองไผ่ จ.นครราชสีมา

Authors

  • รุ่งเพชร ปัญญาวุฒิ ศูนย์อนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา 30000
  • อุไรรัตน์ กาญจนขุนดี ศูนย์อนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา 30000
  • โสภิรญา ทองมาก ศูนย์อนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา 30000
  • คธา วาทกิจ สาขาวิชาวิศวกรรมเกษตร สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา 30000

Keywords:

มวลชีวภาพ, การกักเก็บคาร์บอน, ปริมาณการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์, ศูนย์อนุรักษ์พันธุกรรมพืช อพ.สธ.-คลองไผ่

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณมวลชีวภาพ การกักเก็บคาร์บอนและการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ของไม้ยืนต้น ในพื้นที่แปลงอนุรักษ์พืชสมุนไพรโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ อพ.สธ.-คลองไผ่ จ.นครราชสีมา โดยทำการเก็บวัดข้อมูลเฉพาะต้นไม้ที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางระดับอก 30 เซนติเมตรขึ้นไปที่ระดับความสูง 1.30 เมตรเหนือพื้นดินและประเมินความสูงปลายเรือนยอดไม้จากข้อมูลแบบจำลองความสูงทรงพุ่มที่สร้างจากภาพตัดขวางของแผนที่ 3 มิติ ที่ได้จากการสำรวจด้วยโดรน เพื่อนำมาประเมินมวลชีวภาพของไม้ต้น ปริมาณการกักเก็บคาร์บอนรวมและปริมาณการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ ผลการศึกษาพบว่ามีพันธุ์ไม้ที่พบในแปลงสำรวจรวมทั้งหมด 95 ชนิด พบไม้เด่น เช่น มะกอกป่า โมก ข่อย การประเมินมวลชีวภาพของไม้ต้นจากสมการแอลโลเมตรีพบว่ามีปริมาณมวลชีวภาพรวมเท่ากับ 49 ตันต่อไร่ โดยส่วนของกิ่งและใบมีปริมาณมวลชีวภาพสูงกว่าส่วนของลำต้นและราก ขณะที่ปริมาณการกักเก็บคาร์บอนรวมมีค่าเท่ากับ 23 ตันคาร์บอนต่อไร่และปริมาณการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ของไม้ยืนต้นเท่ากับ 84.7 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ต่อไร่ โดยพืชเรือนยอดชั้นที่มีความสูงมากกว่าจะมีสัดส่วนของมวลชีวภาพรวมสูงกว่าพืชเรือนยอดชั้นที่มีความสูงในระดับที่ต่ำลงไป

Downloads

Published

2022-09-14

How to Cite

ปัญญาวุฒิ ร. ., กาญจนขุนดี อ. ., ทองมาก โ., & วาทกิจ ค. . (2022). การประเมินมวลชีวภาพและการกักเก็บคาร์บอนของต้นไม้ ในพื้นที่ศูนย์อนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ อพ.สธ.-คลองไผ่ จ.นครราชสีมา. Science, Technology, and Social Sciences Procedia, 2022(4), rspg099. Retrieved from https://wjst.wu.ac.th/index.php/stssp/article/view/25695