การศึกษาฤทธิ์การยับยั้งกิจกรรมเอนไซม์แอลฟา-อะไมเลสและไลเปสในหลอดทดลองของชาสมุนไพรที่พัฒนาวิธีการทำมาจากภูมิปัญญาท้องถิ่น

Authors

  • รัศมี แสงศิริมงคลยิ่ง สาขาวิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร เขตบางเขน กรุงเทพฯ 10220
  • พรชนก ชโลปกรณ์ สาขาวิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร เขตบางเขน กรุงเทพฯ 10220
  • สุชาดา ไม้สนธิ์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร เขตบางเขน กรุงเทพฯ 10220

Keywords:

ชาสมุนไพร, แอลฟา-อะไมเลส, ไลเปส, เบาหวาน, ไขมัน, ภูมิปัญญาท้องถิ่น

Abstract

จากการสำรวจและรวบรวมข้อมูลฐานทรัพยากรชีวภาพบริเวณภายในวิทยาลัยชัยบาดาลพิพัฒน์ อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี   พบพืชสมุนไพรที่น่าสนใจสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการทำชาที่มีฤทธิ์ยับยั้งเบาหวานและไขมันได้หลายชนิด ดังนั้นในงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาภูมิปัญญาวิธีการทำชาจากส่วนต่าง ๆ ของพืชสมุนไพร 2) ศึกษาฤทธิ์การยับยั้งกิจกรรมเอนไซม์แอลฟา-อะไมเลสและ ไลเปสในหลอดทดลองของชาสมุนไพรที่พัฒนาวิธีการทำมาจากภูมิปัญญาท้องถิ่น  โดยการสัมภาษณ์ปราชญ์หมอชาวบ้านที่เชี่ยวชาญเรื่องการใช้สมุนไพรในการรักษาโรคและสำเร็จการศึกษาวิชาการแพทย์แผนไทย สาขาเภสัชกรรมและเวชกรรมไทย ได้รับอนุญาตให้เปิดสถานพยาบาลประเภทที่ไม่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน มีลักษณะเป็นคลินิก นำข้อมูลที่ได้ทั้งหมดมาสรุปเป็นผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ งานวิจัยนี้เลือกตัวอย่างสมุนไพรในวิทยาลัยชัยบาดาลพิพัฒน์ จำนวน 4 ชนิด ได้แก่ กำแพงเจ็ดชั้น รางแดง เถาวัลย์เหล็ก และพญารากดำ นำไม้สมุนไพร 300 กรัมมาคั่วให้หอม และต้มกับน้ำ 800 มิลลิลิตร และนำน้ำชาจากสมุนไพรทั้ง 4 ชนิดรวมกันในอัตราส่วน 1:1 เป็นชารวม และนำน้ำชาทั้ง 5 ชนิดไปทดสอบฤทธิ์ในการยับยั้งกิจกรรมเอนไซม์แอลฟา-อะไมเลสและไลเปสด้วยวิธี Colorimetric  ผลการวิจัยจากการสัมภาษณ์พบว่า วิธีการทำชาตามภูมิปัญญามีทั้งแบบสด แบบแห้ง แบบคั่วหรือปิ้งไฟเตาถ่าน บดเป็นผง และเติมน้ำตาลเคี่ยวให้แห้ง สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับส่วนต่าง ๆ ของพืชสมุนไพรที่นิยมนำมาทำเป็นชามีทั้งใบ ดอก และลำต้น กรรมวิธีการทำชาที่ได้พัฒนามาจากภูมิปัญญาคือการคั่วให้เนื้อไม้สมุนไพรมีกลิ่นหอมและต้มให้เดือด ผลการทดสอบฤทธิ์ในการยับยั้งของชาสมุนไพร 5 ชนิด เรียงลำดับจากมากไปน้อย พบว่า 1) รางแดง ชารวม พญารากดำ กำแพงเจ็ดชั้น และเถาวัลย์เหล็ก สามารถออกฤทธิ์ยับยั้งกิจกรรมเอนไซม์แอลฟา-อะไมเลสได้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ โดยมีเปอร์เซ็นต์การยับยั้งดังนี้ 72.10±12.80  64.61±17.84  55.31±18.77  42.39±21.61 และ 37.20±10.58 ตามลำดับ 2) ชารวม รางแดง กำแพงเจ็ดชั้น เถาวัลย์เหล็ก และพญารากดำ สามารถออกฤทธิ์ยับยั้งกิจกรรมเอนไซม์ไลเปสได้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ โดยมีเปอร์เซ็นต์การยับยั้งดังนี้ 26.45±14.47  22.04±23.49  15.18±12.81  6.51±4.45 และ 5.33±3.21 ตามลำดับ จากงานวิจัยนี้แสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้ในการนำชาสมุนไพรมาใช้เป็นทางเลือกหนึ่งในการนำองค์ความรู้ที่ได้ไปต่อยอดพัฒนาสู่การใช้ประโยชน์จากสมุนไพรได้

 

,, ,,

Downloads

Published

2022-09-14

How to Cite

แสงศิริมงคลยิ่ง ร. ., ชโลปกรณ์ พ. ., & ไม้สนธิ์ ส. . (2022). การศึกษาฤทธิ์การยับยั้งกิจกรรมเอนไซม์แอลฟา-อะไมเลสและไลเปสในหลอดทดลองของชาสมุนไพรที่พัฒนาวิธีการทำมาจากภูมิปัญญาท้องถิ่น. Science, Technology, and Social Sciences Procedia, 2022(4), rspg008. Retrieved from https://wjst.wu.ac.th/index.php/stssp/article/view/25693