การประยุกต์ใช้รงควัตถุสีน้ำตาลส้มที่มีฤทธิ์ต้าน methicillin-resistant Staphylococcus aureus จากเชื้อ Streptomyces sp. KB3 (TISTR 2305) เพื่อใช้เป็นสีย้อมผ้า

Authors

  • มณฑล เลิศคณาวนิชกุล สำนักวิชาสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช 80160
  • อาซีย๊ะ มะปิ สำนักวิชาสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช 80160
  • ฮาลีหม๊ะ สะหม้อ สำนักวิชาสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช 80160

Keywords:

Methicillin-resistant Staphylococcus aureus, Streptomyces sp. KB3 (TISTR 2305), สีย้อมผ้า

Abstract

น้ำเลี้ยงเชื้อ Streptomyces sp. KB3 (TISTR 2305) สามารถแสดงฤทธิ์ต้านการเจริญของเชื้อดัชนี Staphylococcus aureus TISTR 517 และ methicillin-resistant Staphylococcus aureus (MRSA)  นอกจากนี้ยังพบว่าสายพันธุ์ KB3 สามารถผลิตรงควัตถุสีน้ำตาลส้มในช่วงเวลา 3-5 วัน ของการบ่มเลี้ยงเชื้อในอาหารเลี้ยงเชื้อเหลวยีส์เอ็กเทร็กส์-มอลต์เอ็กเทร็กส์แบบครึ่งสูตร ที่มีปริมาณเปปโตน 0.6 กรัม  ในสภาวะการบ่มเลี้ยงที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส ความเร็วรอบเขย่า 150 รอบต่อนาที  โดยสามารถนำรงควัตถุสีน้ำตาลส้มมาย้อมผ้าดิบแต่ยังไม่พบฤทธิ์ต้านการเจริญของเชื้อดัชนี ดังนั้นจึงได้เพิ่มประสิทธิภาพการต้านการเจริญของเชื้อดัชนีด้วยการนำไปผสมกับ 2,4-Di-tert-butylphenol พบว่าสามารถเห็นฤทธิ์ต้านการเจริญของเชื้อดัชนีได้ชัดเจนยิ่งขึ้น  การติดสีย้อมของผ้าดิบมีความคงตัวสูงแม้จะนำไปล้างออกด้วยน้ำ เมื่อใช้ขี้เถ้าความเข้าร้อยละ 2 ที่ pH 10 เป็นมอร์แดนส์  ดังนั้นในการทำการศึกษาครั้งต่อไปจึงน่าจะพัฒนาให้รงควัตถุจากเชื้อ Streptomyces sp. KB3 (TISTR 2305) มีฤทธิ์ต้านเชื้อดัชนีควบคู่ไปกับการติดแน่นบนผืนผ้า เพื่อเป็นประโยชน์ของการประยุกต์ใช้สารสีจากธรรมชาติมาทดแทนการใช้สารเคมี ช่วยลดการตกค้างในสิ่งแวดล้อมและเป็นการใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน

Downloads

Published

2022-09-14

How to Cite

เลิศคณาวนิชกุล ม. ., มะปิ อ. . ., & สะหม้อ ฮ. . (2022). การประยุกต์ใช้รงควัตถุสีน้ำตาลส้มที่มีฤทธิ์ต้าน methicillin-resistant Staphylococcus aureus จากเชื้อ Streptomyces sp. KB3 (TISTR 2305) เพื่อใช้เป็นสีย้อมผ้า. Science, Technology, and Social Sciences Procedia, 2022(4), rspg005. Retrieved from https://wjst.wu.ac.th/index.php/stssp/article/view/25692