สำรวจเห็ดป่าในสวนสัตว์ขอนแก่นและสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพของเห็ดป่า

Authors

  • กิ่งจันทน์ มะลิซ้อน สาขาวิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี 41000
  • ปาหนัน เวชสาน สาขาวิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี 41000
  • ศกุนตลา ศิริอุดม สาขาวิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี 41000
  • ธนชน เคนสิงห์ สวนสัตว์ขอนแก่น อำเภอเขาสวนกวาง ขอนแก่น 40280

Keywords:

เห็ดป่า, สวนสัตว์ขอนแก่น, สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ, Russula

Abstract

คณะวิจัยสาขาวิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ดำเนินงานวิจัยร่วมกับ สวนสัตว์ขอนแก่น อำเภอเขาสวนกวาง จังหวัดขอนแก่น ใน“โครงการสำรวจและศึกษาความหลากหลายพันธุกรรมเห็ด ภายในพื้นที่สวนสัตว์ขอนแก่น” ภายใต้ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี งานวิจัยได้สำรวจและเก็บตัวอย่างเห็ดเพื่อจัดจำแนกชนิดเห็ดด้วยลักษณะทางสัณฐานวิทยา และระบุการใช้ประโยชน์เห็ดป่าภายในสวนสัตว์ขอนแก่น และได้ทดสอบการใช้สารสกัดหยาบของเห็ดสกุล Russula เพื่อออกฤทธิ์ยับยั้งยีสต์และแบคทีเรียที่ก่อโรค โดยโครงการวิจัยส่งเสริมให้นักศึกษาในสาขาวิชาร่วมทำงานวิจัยในโครงการเพื่อสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ จากการสำรวจพบตัวอย่างเห็ดจำนวน 186 ตัวอย่าง แบ่งเป็นเห็ดในกลุ่ม Ascomycota เก็บตัวอย่างได้ 16 ตัวอย่าง จัดจำแนกได้เป็น 5 สกุล 9 สายพันธุ์ และเห็ดในกลุ่ม Basidiomycota เก็บตัวอย่างได้ 170 ตัวอย่าง จำนวน 65 สกุล 102 สายพันธุ์ พบทั้งเห็ดกินได้ เห็ดกินได้สมุนไพร เห็ดกินไม่ได้ และเห็ดพิษ ตัวอย่างเห็ดกินได้ที่พบมากอยู่ในสกุล Russula (เห็ดแดงน้ำหมาก เห็ดก่อ เห็ดตะไค) และ Boletus (เห็ดตับเต่า เห็ดผึ้ง) สกุลที่พบรองลงมาคือสกุล Amanita (เห็ดระโงกเหลืองนวล ระโงกขาว) Termitomyces (เห็ดปลวก เห็ดโคน) Lentinus (เห็ดบด เห็ดลม) และ Astraeus (เห็ดเผาะ) เห็ดสกุล Russula ที่นำมาทดสอบสารสกัดหยาบคือ Russula sp. RK1-5, Russula virescens RK2, Russula delica RK3, Russula sp. RK4 และ Russula alboareolata RK6 เมื่อทดสอบฤทธิ์ยับยั้งด้วยวิธีทางจุลชีววิทยา Agar well diffusion method พบว่าเห็ดตะไคเขียว (R. virescens RK2) เห็ดหล่มขาว (R. delica RK3) และเห็ดไคป่า (Russula sp. RK4) มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อยีสต์และแบคทีเรียโดยสารสกัดหยาบยับยั้งแบคทีเรียแกรมลบ Serratia marcescens ได้ดีที่สุด

 

Downloads

Published

2022-09-14

How to Cite

มะลิซ้อน ก., เวชสาน ป. ., ศิริอุดม ศ. ., & เคนสิงห์ ธ. (2022). สำรวจเห็ดป่าในสวนสัตว์ขอนแก่นและสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพของเห็ดป่า. Science, Technology, and Social Sciences Procedia, 2022(4), rspg003. Retrieved from https://wjst.wu.ac.th/index.php/stssp/article/view/25688