เอคไคโนเดิร์มบริเวณเกาะยาวน้อย-เกาะยาวใหญ่ และเกาะใกล้เคียง จังหวังพังงา

Authors

  • อารมณ์ มุจรินทร์ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120
  • รัชนีวรรณ สุมิตรากิจ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120

Keywords:

เอคไคโนเดิร์ม, ความหลากหลายทางชีวภาพ, เกาะยาวน้อย เกาะยาวใหญ่, จังหวัดพังงา, ประเทศไทย

Abstract

การศึกษาชนิดของเอคไคโนเดิร์ม (Phylum Echinodemata) บริเวณเกาะยาวน้อย เกาะยาวใหญ่ และเกาะใกล้เคียง จังหวัดพังงา ชายฝั่งทะเลอันดามัน โดยทำการเก็บรวบรวมตัวอย่างเอคไนโนเดิร์มจากแนวปะการัง แหล่งหญ้าทะเล และแหล่งพื้นโคลน จำนวน 9 จุดสำรวจ ได้แก่ เกาะนก (จุดสำรวจที่ 1) เกาะยาวน้อย (จุดสำรวจที่ 2) เกาะยาวใหญ่ (จุดสำรวจที่ 3-5) เกาะไข่นอก (จุดสำรวจที่ 6) เกาะไข่ใน (จุดสำรวจที่ 7) และหินมุกสังข์ (จุดสำรวจที่ 8-9) ระหว่างวันที่ 3-11 เมษายน 2564 พบเอคไคโนเดริ์มทั้งสิ้น 5 ชั้น 12 อันดับ 17 วงศ์ 26 สกุล 31 ชนิด แบ่งเป็นกลุ่มดาวขนนก (Crinoidea) 5 ชนิด กลุ่มดาวเปราะ (Ophiuroidea) 6 ชนิด กลุ่มดาวทะเล (Asteroidea) 4 ชนิด กลุ่มเม่นทะเล (Echinoidea) 9 ชนิด และ กลุ่มปลิงทะเล (Holothuroidea) 7 ชนิด โดยเอคไคโนเดิร์มทั้งหมด 31 ชนิด มีจำนวน 27 ชนิดที่พบในแนวปะการัง 4 ชนิดพบในแนวหญ้าทะเล และ 1 ชนิด พบในแหล่งพื้นโคลน ในจำนวนนี้ มีเพียง 1 ชนิดเท่านั้น คือ Jacksonaster depressum พบได้จากแนวปะการังและแนวหญ้าทะเล สำหรับเอคไคโนเดิร์มที่พบเป็นชนิดเด่นในพื้นที่ศึกษา ได้แก่ Synaptula sp.1, Macrophiothrix variabilis, Echinothrix calamaris และ Brissus latecarinatus ตามลำดับ ซึ่งทั้งหมดพบได้ในแนวปะการัง

 

Downloads

Published

2022-09-13

How to Cite

มุจรินทร์ อ., & สุมิตรากิจ ร. . (2022). เอคไคโนเดิร์มบริเวณเกาะยาวน้อย-เกาะยาวใหญ่ และเกาะใกล้เคียง จังหวังพังงา. Science, Technology, and Social Sciences Procedia, 2022(4), rspg002. Retrieved from https://wjst.wu.ac.th/index.php/stssp/article/view/25685