ความคาดหวังและความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาเด็ก วัยรุ่นและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล

Authors

  • เสรี สิงห์โงน สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
  • สาลินี จันทร์เจริญ สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
  • ธัญลักษณ์ กองชัยมงคล คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความคาดหวังและความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการจัดการเรียนการสอน 2) เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างความคาดหวังและความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการจัดการเรียนการสอน และ 3) เพื่อเปรียบเทียบความคาดหวังและความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการจัดการเรียนการสอน จำแนกตาม รหัสนักศึกษา เพศ อายุ สาขาวิชาที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรี สถาบันที่จบการศึกษา ประสบการณ์ทำงาน และระยะเวลาที่มีประสบการณ์ทำงาน เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน การวิจัยเชิงปริมาณเก็บข้อมูลจากประชากรซึ่งเป็นนักศึกษาปัจจุบันและศิษย์เก่าตั้งแต่ปีการศึกษา 2556-2560 จำนวน 54 คน การวิจัยเชิงคุณภาพใช้ข้อมูลความคิดเห็นของนักศึกษาต่อการจัดการเรียนการสอนของหลักสูตรจากโครงการสัมมนาเพื่อพัฒนาหลักสูตร ประจำปี 2557-2561 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความคาดหวังและความพึงพอใจของนักศึกษา จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลด้วย t-test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างความคาดหวังและความพึงพอใจของนักศึกษา ด้วยสถิติที สำหรับข้อมูลเชิงปริมาณ และใช้การวิเคราะห์เนื้อหา จำแนก จัดกลุ่ม และแยกประเภทข้อมูล สำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพ

ผลการศึกษาพบว่า 1) นักศึกษามีความคาดหวังต่อการจัดการเรียนการสอน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x=4.18) และมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x=4.35) 2) นักศึกษามีความคาดหวังและความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนโดยภาพรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยพบว่าระดับความพึงพอใจสูงกว่าระดับความคาดหวัง และ3) นักศึกษาที่มี รหัส เพศ อายุ สาขาวิชาที่จบการศึกษา สถาบันที่จบการศึกษา ประสบการณ์ทำงาน และระยะเวลาที่มีประสบการณ์ทำงาน แตกต่างกัน มีความคาดหวังและความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนในภาพรวมไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Downloads